ความก้าวหน้าในสายอาชีพสายวิชาการ

ตำแหน่งทางวิชาการเป็นตำแหน่งที่แสดงถึงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสูง มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณในการสอน การวิจัย และวิชาการ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ความรู้ ความสามารถด้านการสอน ผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ที่มีปริมาณและคุณภาพที่แสดงถึงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ประกอบด้วย

1. ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ประจำ

  • ศาสตราจารย์
  • รองศาสตราจารย์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์

2. ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์พิเศษ

  • ศาสตราจารย์พิเศษ
  • รองศาสตราจารย์พิเศษ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ

3. ตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิก สำหรับอาจารย์ทางคลินิก

4. ตำแหน่งทางวิชาการสำหรับชาวต่างประเทศที่ได้รับเชิญให้มาช่วยเหลืองานด้านการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

  • ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor)
  • รองศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Associate Professor)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Assistant Professor)
  • อาจารย์อาคันตุกะ (Visiting Lecture)

5. ตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติยศ (Chair Professor) เป็นการยกย่องเชิดชูผู้มีความรู้ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ

6. ตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งนักวิจัย

  • ตำแหน่งนักวิจัย ระดับ ๒
  • ตำแหน่งนักวิจัย ระดับ ๓
  • ตำแหน่งนักวิจัย ระดับ ๔

ทั้งนี้การเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการสามารถเสนอได้ ๒ วิธี (ยกเว้นตำแหน่งตามข้อ ๔ และ ๕) ดังนี้

วิธีปกติ หมายถึง ผู้ขอมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด
วิธีพิเศษ หมายถึง ผู้ขอมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งไม่ครบ หรือการเสนอขอตำแหน่งข้ามขั้น หรือการเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา

ดูรายละเอียดขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่งวิชาการ (เฉพาะ Intranet)