สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ร่วมกับ Mahidol-Sussex สหราชอาณาจักร จัดเวทีวิจัยสหวิทยาการด้าน LGBTQ+ เชื่อมโยงมุมมองไทยและสากล

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน Executive Breakfast Forum 2025
July 22, 2025
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการประชุมคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเพื่อกำหนดประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2568
July 22, 2025

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ร่วมกับ Mahidol-Sussex สหราชอาณาจักร จัดเวทีวิจัยสหวิทยาการด้าน LGBTQ+ เชื่อมโยงมุมมองไทยและสากล

วันที่ 22 กรกฎาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรม Sussex-Mahidol Mobilities Hub & Sussex-Mahidol Workshop เพื่อเสริมสร้างการวิจัยที่ตอบโจทย์ประเด็นทางสังคมที่มีความซับซ้อนในยุคปัจจุบัน พร้อมสร้างพื้นที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ข้ามวัฒนธรรมในประเด็นความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียมกันในสังคม โดยเฉพาะในบริบทที่เชื่อมโยงระหว่างไทยและโลกตะวันตก โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเป็นเกียรติในกิจกรรม โดย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ University of Sussex สหราชอาณาจักร จัดขึ้น ณ ห้องณัฐ ภมรประวัติ ชั้น 1 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาคในภาคเช้า เป็นการเปิดตัวโครงการ “Sussex-Mahidol Mobilities Hub on Gender, Sexualities, and Inequalities in Thai-Western Tourism” ที่มุ่งเน้นการศึกษาความเคลื่อนไหวด้านเพศสภาพ ความหลากหลายทางเพศ และความไม่เท่าเทียมในบริบทการท่องเที่ยวระหว่างไทยและโลกตะวันตก โดยมี Prof. Dr.Paul Statham จาก Sussex Centre for Migration Research จาก University of Sussex และรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริจิต สุนันต๊ะ ประธานหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการร่วมกัน ร่วมแนะนำภาพรวมและวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมทั้งอภิปรายเกี่ยวกับโครงการนำร่อง ภายใต้ชื่อ “Understanding the Social Resilience and Needs of LGBTQI+ Workers in Gay Tourism” เพื่อสร้างความเข้าใจและพัฒนานโยบายที่ตอบสนองต่อความท้าทายและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอย่างแท้จริง

สำหรับกิจกรรมในภาคบ่าย เป็นการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ “Sussex-Mahidol Workshop Interdisciplinary Research on LGBTQ+: Linking the Thai and Global Perspectives” ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดวิชาการด้าน LGBTQ+ จากมุมมองสหวิทยาการ เพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจและสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิจัยทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยเน้นการสะท้อนและวิเคราะห์บริบทของชุมชน LGBTQ+ ในประเทศไทยควบคู่ไปกับแนวโน้มและประเด็นทั่วโลก ภายในกิจกรรมมีการนำเสนอโครงการวิจัยจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล และ University of Sussex ครอบคลุมหัวข้อสำคัญ ดังนี้:

“The Spectrum of Life Behind the Numbers: Size Estimation of LGBTQ+ in Thailand” โดย ศาสตราจารย์กฤตยา อาชวนิจกุล และ คุณกุลภา วจนสาระ จาก สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

“Intersectionality and LGBQ Experiences of Migration and Settlement in the United Kingdom” โดย Dr.Sarah Scuzzarello จาก University of Sussex

“Film Workers in Thai Boys Love (BL) Productions: Hybrid Aesthetics, Labour Vulnerability, and Queer Potentiality” โดย
ดร.วิกานดา พรหมขุนทอง จาก สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

“Introducing GenSeM: Research Profile and Activities” โดย Dr. Laura Morosanu จาก University of Sussex

LGBTQ Voices in Thai High Schools: Shaping Self-Expression and Empowerment” โดย ดร. มัธธาณะ รอดยิ้ม จาก สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

“Contributing to Migration and Refugee Studies” โดย Prof. Nuno Ferreira จาก University of Sussex

ขอบคุณข้อมูลภาพข่าว : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

เรียบเรียงโดย : งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล