สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล และศูนย์วัฒนธรรมตุรกี (Yunus Emre Institute) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) ผสานพลังภาษาและวัฒนธรรม เชื่อมสัมพันธ์ไทย–ตุรกี

มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมลงนามความร่วมมือด้านวิชาการ
July 7, 2025
สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดโครงการฝึกอบรม “ระบบการประเมินมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ตามเกณฑ์ HURS (HURS Workshop 2025)”
July 7, 2025

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล และศูนย์วัฒนธรรมตุรกี (Yunus Emre Institute) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) ผสานพลังภาษาและวัฒนธรรม เชื่อมสัมพันธ์ไทย–ตุรกี

วันที่ 7 กรกฎาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Aybike Aladağ, ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมตุรกี (Yunus Emre Institute) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Agreement (MOA) โดยมี นางสาวอัยวริญญ์ นิซัน ครูผู้เชี่ยวชาญภาษาตุรกี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนของทั้ง 2 องค์กร เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ศูนย์วัฒนธรรมตุรกี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินความร่วมมือกับศูนย์วัฒนธรรมตุรกีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นมา ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ศูนย์วัฒนธรรมตุรกีได้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การฝึกอบรมเชิงวิชาการ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาตุรกีให้แก่บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งล้วนมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมไทยและตุรกี รวมถึงเปิดโอกาสให้สังคมไทยได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจากเจ้าของภาษาโดยตรง

บันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้านภาษา วัฒนธรรม และวิชาการระหว่างประเทศไทยและตุรกี โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การจัดกิจกรรมทางวิชาการและวัฒนธรรม และการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสองประเทศ และสนับสนุนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในระดับนานาชาติอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายทางวิชาการระดับนานาชาติ และสะท้อนเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายในการส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน

ขอบคุณข้อมูลภาพข่าว : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียงโดย : งานสื่อสารองค์กร  มหาวิทยาลัยมหิดล