มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการสัมมนาวิชาการ “AI-Powered Government: ปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนาภาครัฐ”

กองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
March 25, 2025
มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับ บริษัท คาร์ล ไซล์ส จำกัด และมหาวิทยาลัยบูรพา
March 25, 2025

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการสัมมนาวิชาการ “AI-Powered Government: ปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนาภาครัฐ”

วันที่ 25 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการสัมมนาวิชาการ “AI-Powered Government: ปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนาภาครัฐ” พร้อมให้เกียรติบรรยายพิเศษหัวข้อ “AI Trends กับการยกระดับการบริหารภาครัฐ” โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแนวทางการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานรัฐ พร้อมทั้งส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐได้รับข้อมูลที่สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในองค์กรภาครัฐ โดยมี นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ โรงแรมสยาม แอท สยาม ดีไซน์ โฮเทล กรุงเทพฯ

โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมในเวทีเสวนา “AI-Powered Government: ปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนาภาครัฐ” ร่วมกับ คุณนนทพัฒน์ ศรีหาผล Technical Director บริษัท Sense Info Tech จำกัด ดร.วาทยา ชุณห์วิจิตรา หัวหน้าทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ (STU) และทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST) กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และคุณกรวิชญ์ สังข์แก้ว AI Engineer SCBX บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มยุรี ศรีกุลวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และกรรมการคณะกรรมการ Digital Economy หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งการสัมมนาวิชาการครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อการต่อยอดแนวคิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อ “Co-Creating Smart Governance: ร่วมออกแบบระบบราชการไทยด้วย AI” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) แก่หน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาและบูรณาการ AI เข้าสู่การทำงานภายในองค์กร ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภาครัฐสู่ความทันสมัยและประสิทธิภาพมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จึงตระหนักถึงความสำคัญของการนำ AI มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อสร้าง Smart Governance ที่ตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ