มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ประจำปี 2566 และพิธีเปิดประชุมวิชาการ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 1

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จัดกิจกรรม “MU Safe School Virtual Workshop 34”
July 13, 2024
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายโรงพยาบาล กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) ครั้งที่ 84
July 14, 2024

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ประจำปี 2566 และพิธีเปิดประชุมวิชาการ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 1

วันที่ 14 กรกฎาคม 2567 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ประจำปี 2566 และเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดประชุมวิชาการ เรื่อง “Thailand Against Cancer as One” โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารส่วนงาน เข้าร่วมงาน โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์อาแบส อาลาวี จากประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ “Princess Chulabhorn Award” ประจำปี 2566 พร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับผลงานด้านมะเร็งในหัวข้อ Molecular and Nuclear Imaging in Cancer Care ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม เอ ชั้น 4 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น

การจัดประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพที่สำคัญในด้านการป้องกัน ควบคุม และการดูแลรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทย จากหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติในการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการ ได้แก่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการด้านมะเร็งวิทยาทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ และร่วมกันเผยแพร่นิทรรศการผลงานวิชาการยุทธการต้านมะเร็งในประเทศไทย ทั้งในด้านการป้องกัน ควบคุม การศึกษาวิจัยเรื่องโรคมะเร็งที่ต่อยอดสู่การพัฒนานวัตกรรม การนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ