มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีวิพากษ์ ข้อเสนอ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” เป็นนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ Mahidol University Job Fair 2024
April 9, 2024
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “Ireland’s International Talent Strategy 2024-2030 and the scope for cooperation with Thailand” ในที่ประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 7/2567
April 10, 2024

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีวิพากษ์ ข้อเสนอ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” เป็นนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570

วันที่ 9 เมษายน 2567 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีวิพากษ์ ข้อเสนอ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” เป็นนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 ซึ่งดำเนินการโดย 13 ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขต้นแบบ โดยมี นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวเปิดกิจกรรม ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน และนายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวต้อนรับ ซึ่งมีคณะกรรมการกำกับทิศภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขต้นแบบ คณะกรรมการอำนวยการภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขต้นแบบ คณะทำงานภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขต้นแบบ ผู้แทนจากภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข (ภคม.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กว่า 60 แห่ง ให้เกียรติเข้าร่วมเวทีวิพากษ์ฯ ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์

เวทีวิพากษ์ดังกล่าว เป็นการนำเสนอ (ร่าง) ข้อเสนอนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 โดย อาจารย์ ดร.นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์ หัวหน้าโครงการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น เป็นเวทีวิพากษ์ โดย 13 ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขต้นแบบ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต ผู้จัดการโครงการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ

เวทีวิพากษ์ดังกล่าว จัดขึ้นโดย 13 ภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขต้นแบบ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับ โครงการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อสื่อสารและนำเสนอ (ร่าง) “นโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570” เข้าสู่การพิจารณาเป็นนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งเป็นเวทีของภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขทั่วประเทศเพื่อร่วมกันวิพากษ์ และวางเส้นเวลาการร่วมกันผลักดัน (ร่าง) “นโยบายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570”