ม.มหิดล ร่วมงานเปิดแพลตฟอร์ม “FoodSERP Platform” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอางด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไทยสู่ความยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2567 ( (Mahidol Sustainability Week 2024) )
August 21, 2024
ศูนย์ธรรมาภิบาลข้อมูลและยุทธศาสตร์อัจฉริยะ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาดูงาน “โครงการศึกษาดูงานด้านธรรมาภิบาลข้อมูล” (Data Governance) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
August 21, 2024

ม.มหิดล ร่วมงานเปิดแพลตฟอร์ม “FoodSERP Platform” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอางด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไทยสู่ความยั่งยืน

วันที่ 21 สิงหาคม 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (FoodSERP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนการ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดแพลตฟอร์ม “FoodSERP Platform” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอางด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไทยสู่ความยั่งยืน ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (Service Platform for food and Functional Ingredients; FoodSERP) FoodSERP Platform ขึ้น เพื่อเร่งผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่ ด้วยกลยุทธ์การผนวกองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญสหสาขาวิชา เพื่อให้บริการตลอดห่วงโซ่การผลิตตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะ โดยเน้นผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ โปรตีนทางเลือก อาหารเฉพาะกลุ่มและส่วนประกอบฟังก์ชัน ซึ่งจะช่วยสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยดำเนินการสอดรับกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นในด้านการวิจัยและนวัตกรรม คือ “วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” และ “เน้นประเด็นสำคัญของประเทศ ได้แก่ Go Green พอเพียง ความยั่งยืน (Sustainability) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)” เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ซึ่งหลักการสำคัญ คือ “เอกชนนำ รัฐสนับสนุน” รวมทั้งสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้ามาดำเนินการสนับสนุน เน้นส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการนวัตกรรมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเยาวชน สตาร์ตอัพ SMEs และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ โดยผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ