คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการนานาชาติเวชศาสตร์เขตร้อน ประจำปี 2566 (Joint International Tropical Medicine Meeting 2023)

คณะผู้บริหาร ม.มหิดล ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2567 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
December 12, 2023
มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือเพื่อวิจัยและพัฒนา “โครงการการผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา”
December 13, 2023

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการนานาชาติเวชศาสตร์เขตร้อน ประจำปี 2566 (Joint International Tropical Medicine Meeting 2023)

วันที่ 13 ธันวาคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติเวชศาสตร์เขตร้อน ประจำปี 2566 (Joint International Tropical Medicine Meeting 2023) ภายใต้หัวข้อ “ Achieving the SDGs : Human and AI-driven Solutions for Tropical Medicine in a Changing World ” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน จัดโดย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด (Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit) และศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยเวชศาสตร์เขตร้อน (SEAMEO TROPMED Network) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ มีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์

จากนั้น แพทย์หญิงวรรณา หาญเชาว์วรกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล Professor Nicholas Day ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้าประชุมในนามผู้ร่วมจัดงาน (Co–Organizers) และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการร่วมศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นองค์ปาฐก (Keynote Speaker, Opening Session) ในปาฐกถาจำลอง – ตระหนักจิต หะริณสุต ครั้งที่ 28 หัวข้อ “mRNA Vaccine: Pandemic Preparedness and Beyond”

การประชุมวิชาการนานาชาติด้านโรคเขตร้อน ประจำปี 2566 จัดขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้ที่ทันสมัย และวิธีการพัฒนา ควบคุม ป้องกันรักษาโรคเขตร้อน และโรคที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ รวมทั้ง เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากทุกภูมิภาค เพื่อสร้างผลงานวิจัย พัฒนาความร่วมมือกับผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกมุมโลก นำไปสู่ประโยชน์ต่อประเทศไทยและประชาคมโลก

____________________________________________

 

ข้อมูลและภาพ : คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียงโดย งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล