วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานมหกรรมคุณภาพ ประจำปี 2566 (Mahidol Quality Fair 2023) ภายใต้หัวข้อ “ทศวรรษมหกรรมคุณภาพ: ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานคณะกรรมการจัดงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน โดยมี ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงาน บุคลากรเข้าร่วมงาน ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ Mahidol University Digital KM Masterclass ซึ่งในปี 2566 มีบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ส่งผลงานเพื่อนำเสนอภายในงานจำนวน 413 ผลงาน จาก 21 ส่วนงาน และมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 1,444 คน
ในภาคเช้า ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในการมอบรางวัลผลงานประเภทต่างๆ ดังนี้
รางวัล Team Good Practice Award
1. การพัฒนาและขยายผลโปรแกรมอบรมการเลี้ยงดูเชิงบวกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet-based Parent Management Training: Net PAMA) จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญวิทย์ พรนภดล และทีม
2. PICC Line by ALiST (Anesthesia Line Service Team) จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ สวัสดิ์วิภาชัย และทีม
3. การพัฒนากระบวนการเตรียมความพร้อมและดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดย คุณนาฎอนงค์ อรุณวิลัย และทีม
4. เทคนิคทางเครื่องหัวใจและปอดเทียมเพื่อการลดการใช้เลือดของผู้บริจาคในระหว่างการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดสำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดย คุณสุเมธี จิระรัตน์กุล และทีม
รางวัล Innovative Teaching Award
1. การพัฒนาเกม PharMatch เพื่อเปลี่ยนการเรียนรู้ชื่อยาและคุณสมบัติของยาจากการเรียนรู้แบบ passive learning เป็น fun, active learning จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงพรพรรณ วิวิธนาภรณ์ และทีม
รางวัล Public Policy Advocacy Award
1. การขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จาก โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ โดย ดร.ณพล อนุตตรังกูร และทีม
และการบรรยายพิเศษหัวข้อ “การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนที่มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG: Environment, Social, Governance)” โดยได้รับเกียรติจาก คุณกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ในภาคบ่าย กิจกรรม Kick-off “Forum วิจัยข้ามศาสตร์ By MU-SSHA # Season 2” Cross–Disciplinary for Sustainability จัดโดย กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “วิจัยข้ามศาสตร์ ในยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย” รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานภาคีเครือข่าย MU-SSHA บรรยายหัวข้อ “บทบาทของ MU-SSHA ในการผลักดันวิจัยข้ามศาสตร์” และรองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บรรยายหัวข้อ “การวิจัยข้ามศาสตร์: โอกาสและมุมมองจากแหล่งทุนวิจัย” และการนำเสนอ Showcase & Sharing: Forum วิจัยข้ามศาสตร์ by MU-SSHA # Season 1 และ Round Table Discussion: 6 Themes of Focus Groups in “Forum วิจัยข้ามศาสตร์ by MU-SSHA” (Season 2) เพื่อให้เกิดการพัฒนาโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการสร้างสรรค์และทำงานวิจัยข้ามศาสตร์ระหว่างนักวิจัยต่างสาขา ต่างความเชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกันต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาหัวข้อ “Sustainable University Showcase” โดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเสวนา โดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองพัฒนาคุณภาพ จัดงานมหกรรมคุณภาพ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพงานและการสร้างนวัตกรรมด้านต่าง ๆ ทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี เป็นพื้นที่แห่งความภาคภูมิใจสำหรับผู้ได้รับรางวัลและผู้นำเสนอผลงาน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกท่านเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ พัฒนาตน พัฒนางานนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องให้กับมหาวิทยาลัยต่อไป ภายในงาน มีการนำเสนอผลงานประเภทต่างๆ ได้แก่ รางวัล Team Good Practice Award รางวัล Innovative Teaching Award รางวัล Public Policy Advocacy Award การนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) การนำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์ (Poster Presentation) ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร และในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Mahidol University Digital KM Masterclass การเผยแพร่บทความ ประเภทเรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) ในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Mahidol University Digital KM Masterclass และการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวข้อง SDGs จำนวน 7 บูธ ได้แก่ ธนาคารขยะรีไซเคิล “Recycle Bank”, Flexible Benefit, ลดเค็ม ลดโรค, ความปลอดภัยในที่ทำงาน, AUN-Health Promotion Network, Some One หนึ่งในหลาย และการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด