TPAK ร่วมกับ สสส. จัดประชุมถอดบทเรียนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายแบบองค์รวม

Published: 22 January 2025

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสรุปข้อเรียนรู้และถอดบทเรียนเพื่อขยายผลนโยบาย ตามแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach to Physical Activity: WoSPA) กับ 12 โรงเรียนต้นแบบนำร่องเพื่อสนับสนุนแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน (พ.ศ. 2566-2573) ผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่

  1. โรงเรียนวัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร
  2. โรงเรียนนิคมบางระกำ 4 (บางระกำชนูปถัมภ์) จ.พิษณุโลก
  3. โรงเรียนวัดปากพิงตะวันตก จ.พิษณุโลก
  4. โรงเรียนอนุบาลชุมตาบง จ.นครสวรรค์
  5. โรงเรียนวัดฤทธิ์ (คำหมื่นปทุมานุสสรณ์) จ.สุโขทัย
  6. โรงเรียนปิยมิตรวิทยา จ.พะเยา
  7. โรงเรียนวัดตาลเสี้ยน(สีมาราษฎร์) จ.สระบุรี
  8. โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง จ.สุรินทร์
  9. โรงเรียนบ้านหนองคูวิทยาคม จ.ชัยภูมิ
  10. โรงเรียนบ้านหนองประดู่ จ.กาญจนบุรี
  11. โรงเรียนศรีโพนทองวิทยา จ.นครพนม
  12. โรงเรียนวัดไม้เรียง จ.นครศรีธรรมราช

การดำเนินกิจกรรมตามแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนแบบองค์รวม (Whole-of-School Approach to Physical Activity: WoSPA) จะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายเพิ่มกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของเด็กนักเรียนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้โครงการพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนไทย โดยครั้งนี้ตัวแทนจากฝ่ายต่าง ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูกลุ่มสาระวิชา และครูพลศึกษา เรื่องการนำเครื่องมือไปใช้กับบริบทของโรงเรียนใน 8 มิติ ดังนี้ 1. นโยบายส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในทุกโอกาส (Active policy) 2. พละศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality physical education) 3. การเดินทางระหว่างบ้านและโรงเรียน (Active travel) 4. โอกาสการมีกิจกรรมทางกายช่วงก่อนและหลังเลิกเรียน (PA opportunities before and after school) 5. การสนับสนุนกิจกรรมทางกายในช่วงเวลาพัก (Opportunity for physical activity at recess and lunch) 6. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชั้นเรียน (Active classroom) 7.การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม รวมไปถึงที่มีความบกพร่องทางร่างกาย (PA for those with additional needs) 8. พื้นที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย (Active place)

ติดตามอัปเดตเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


Page View: 236 times

Related Posts

2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs
18 June 2025

ประกาศรางวัล 5 ทีมที่ได้รับทุนต่อยอดใน Mahidol SDGs Impact Challenge 2025: Grand Pitching

ต่อยอดนวัตกรรมจาก 5 ทีม ด้วยรางวัลทุนสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Featured Article

2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs
18 June 2025

ประกาศรางวัล 5 ทีมที่ได้รับทุนต่อยอดใน Mahidol SDGs Impact Challenge 2025: Grand Pitching

ต่อยอดนวัตกรรมจาก 5 ทีม ด้วยรางวัลทุนสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top
Scroll to Top