ชวนฟัง 3 เหตุผลว่าทำไมธุรกรรมยุคใหม่ถึงต้องใช้ “e-Receipt”

Published: 31 May 2022
Q&A

ชวนฟัง 3 เหตุผลว่าทำไมธุรกรรมยุคใหม่ถึงต้องใช้ e-Receipt ปัจจุบันเราคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านการใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินแบบสแกนจ่ายผ่าน QR code, การจ่ายเงินโดยการตัดเงินผ่านบัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านพร้อมเพย์

จะเป็นอย่างไร ถ้าโรงพยาบาลก็นำเทคโนโลยีเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน มาใช้ในการจัดทํา และจัดเก็บใบเสร็จรับเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ชีวิตของพวกเราจะง่ายขึ้นมากแค่ไหน มีข้อดีอย่างไร และทำไมธุรกรรมยุคใหม่ถึงต้องใช้ e-Receipt

มารู้จักโครงการการจัดทำและจัดเก็บใบเสร็จรับเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากคณะทำงานทั้ง 3 ท่าน
รองคณบดีฝ่ายการคลัง – รศ.พญ.อุบลรัตน์ สันตวัตร
รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ – ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์
ผอ.รพ.ศิริราช -รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์
ที่จะมาอธิบายและให้ความรู้ว่าการชำระเงินหลังจากนี้จะง่ายขึ้นอย่างไร

ผอ.รพ.ศิริราช -รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์
Q : อยากให้เเล่าที่มาของโครงการ e-Receipt ว่าเป็นมาอย่างไร

A : สภาพปัญหาคือคนไข้มารับบริการที่ศิริราชวันนึงเป็นหมื่นคน ก็จะมีการออกใบเสร็จรับเงินหลักพัน ซึ่งทุกอย่างต้องพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ มีต้นทุนต้นฉบับ ต้นทุนสำเนา เจ้าหน้าที่แคชเชียร์ที่รับเงินต้องมีการลงลายมือชื่อตัวจริงให้กับคนไข้ ตัวที่เป็นสำเนาก็ต้องเก็บ ส่วนที่สองคือต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ สามก็คือเกิดกระบวนการมากมายการที่โรงพยาบาลจะต้องเก็บสำเนา เก็บจำนวนกระดาษมหาศาลเพราะฉะนั้นปีหนึ่งเฉลี่ย 9 -10 ล้านใบสำหรับใบเสร็จรับเงินโรงพยาบาลศิริราชที่เดียว สภาพนี่คือสภาพปัญหาที่เราอยู่กับมันมาแต่เดิม

และเรื่องนี้เป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งเราคิดว่าน่าจะตอบโจทย์ที่สำคัญ คือ ตอบโจทย์ผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ทำให้เราประหยัดเวลา ขั้นตอนถูกต้อง และการจัดเก็บเอกสารจะหายไป แนวคิดจะคล้าย ๆ กับเรื่องของเอทีเอ็ม เรื่องของ Mobile Banking เรื่องของ e-Commerce เพราะฉะนั้นเราคิดว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ กระแสสังคมที่เป็นแบบนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเปลี่ยนไปสู่ทิศทางนี้

เดี๋ยวนี้คนก็คุ้นเคยจากการจ่ายเงินซื้อของแบบไปสแกนจ่าย ทุกคนก็จะคุ้นเคยกับการช็อปปิ้งออนไลน์ เพราะฉะนั้นสำหรับพฤติกรรมของผู้รับบริการไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่จะจัดระบบการทำงานของเราได้อย่างไร ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งเรื่องของระบบงานและเรื่องของผู้รับบริการ จนเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

วันแรกที่เราเดินไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารเรามั่นใจไหม เหมือนกันกับวันแรกที่เราซื้อของออนไลน์ เราซื้อเสร็จต้องรีบเช็คว่าจะได้ของหรือไม่ เราจะได้ใบเสร็จหรือไม่ เราจะได้สินค้าหรือไม่ ตัดเงินเราถูกหรือเปล่า เหมือนกับในเรื่องของการทำใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์เราต้องมีกระบวนอะไรที่ทำให้มั่นใจได้ว่าใบเสร็จรับเงินถูกต้อง

โดยเจ้าหน้าที่รับเงินของเรา ฝ่ายการเงินของเรารับเงินที่ถูกต้อง มีการนำกระบวนการนี้เข้าไปอยู่ในระบบบัญชีที่ถูกต้อง นอกจากจะทำได้ถูกต้องแล้วอย่างที่สองต้องตรวจสอบได้ เพราะระบบโรงพยาบาลระบบภาครัฐจะต้องผ่านการตรวจสอบ ระบบอันที่สามก็คือสิ่งนี้ทำถูกต้องตรวจสอบได้ เกิดการเชื่อมโยงไหมกับผู้ที่รับจ่ายยกตัวอย่าง เช่น เชื่อมโยงไปถึงผู้รับบริการไหม ใบเสร็จไปถึงเขาหรือเปล่า เพราะฉะนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องทำอยู่สามเรื่อง
คือ การทำให้ถูกต้อง ต้องตรวจสอบได้ เชื่อมโยงได้

Q : โครงการนี้มีประโยชน์กับประชาชนทั่วไปอย่างไรบ้าง

A : สะดวก ลดเวลา เราคงเคยเห็นภาพคนต่อคิวที่จะจ่ายตังมันน่าจะหมดไปแล้ว เพราะกระบวนการในการจ่ายเงินแต่ละครั้งมันสั้นลง ไม่ต้องจ่ายตรงนั้นก็ได้ ไปจ่ายที่ตู้ Kiosk ทั้งหลาย หรือจ่ายผ่านมือถือก็ได้ กระบวนการเหล่านั้นลดลง ไม่ต้องรอใบเสร็จรับเงินเพราะใบเสร็จรับเงินเราอยู่ในมือถือ หรือถ้าต้องการก็สามารถขอผ่านอีเมลออกมาเหมือนของจริงได้

รองคณบดีฝ่ายการคลัง – รศ.พญ.อุบลรัตน์ สันตวัตร

Q : ความยากง่ายของการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย

A : จะเรียกว่ายากไหม ไม่ได้เรียกว่ายากนะ คือเราจะทำเรื่องอะไรสักอย่างเราต้องเข้าใจว่าเราอยู่ในระบบ แล้วระบบนิเวศน์ของระบบนั้นมีอะไรบ้าง อย่างพระเอกนางเอกก็เป็น ETDA เป็นมหิดล แล้วก็ศิริราชก็ต้องทำงานร่วมกัน

ก่อนที่เราจะไปพัฒนาในขั้นถัดไปเราต้องมั่นใจในระบบเดิมเราให้ได้ก่อน เราต้องดูว่าเอกชนทำอย่างไร เพราะฉะนั้นสิ่งแรกเลยเนี่ยเราต้องหาผู้เชี่ยวชาญ หรือคนที่ควบคุมมาตรฐานเหล่านี้ก่อน ซึ่งก็ได้แก่ ETDA กรมพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตอนเข้ามาตอนแรกก็ต้องกำหนดมาตรฐานต่างๆ ในการส่งข้อมูล อันที่สองหลังจากทำมาตรฐานเสร็จและควบคุมมาตรฐานก็คือองค์กรอย่างเช่น กรมบัญชีกลางที่เป็นภาครัฐในเรื่องการเบิกจ่ายก็ต้องเข้ามารับรองว่ามาตรฐานนี้เป็นระบบที่ยอมรับใช้ได้ อันที่สามก็ต้องคุยกับระบบที่นำใบเสร็จไปใช้ในแต่ละที่ว่าจริง ๆ แล้วระบบมันมั่นคงปลอดภัยเชื่อถือได้เทียบเท่าใบเสร็จจริง อันนี้ก็ต้องสร้างความเข้าใจ ช่วงต้นต้องมีความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลเอง กรมบัญชีกลาง หรือว่ารัฐวิสาหกิจ หรือประกัน

ต้องขอบคุณทุกองค์กรที่ช่วยกันพัฒนา ไม่ว่าเรื่องอะไรของศิริราชจะได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกเสมอ ในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ต้องขอขอบคุณ ETDA ที่สร้างมาตรฐานให้ความรู้แล้วก็นำไปเผยแพร่ ขอบคุณกรมบัญชีกลางที่ยอมรับในมาตรฐานและพยายามทำงานต่อให้สมบูรณ์ อีกอันนึงขาดไม่ได้เลยคือมหาวิทยาลัยมหิดล จะเห็นว่าบางเรื่องเราอาจจะยังต้องใช้เวลาในการขับเคลื่อน แล้วเราก็อาจจะเคลื่อนไม่ได้ทั้งหมดแต่อย่างน้อยบางส่วนที่เราเคลื่อนได้ก็จะเป็นแรงกระตุ้นหรือแรงผลักดันให้ที่อื่นสามารถนำไปทำได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น

Q : ผลตอบรับของโครงการเป็นอย่างไรบ้าง

A : ต้องบอกว่าดีมาก ตอนนี้เรียกว่าองค์กรภาครัฐมาดูงานเยอะมากเลย ต่อไปถ้าโครงการสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้เมื่อไหร่ก็จะดีมาก ๆ

รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ – ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์

Q : แล้ว e-Receipt มีขั้นตอนการใช้งานยังไงบ้าง

A : ในกระบวนการของการออกใบเสร็จ แทนที่เราจะออกกระดาษที่พิมพ์เอกสารทุกใบ ใบเสร็จจะถูกออกเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์พร้อม e-Timestamp แล้วถูกเก็บไว้ ขณะเดียวกันอีกหนึ่งก๊อปปี้ตัวนี้เราสามารถส่งให้ผู้รับบริการได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้รับบริการเกิดบอกว่าทำหาย หรือ หาไม่เจอ เราก็จะมีตัวตั้งต้นต้นฉบับว่าเอกสารตัวนี้ได้ถูกทำขึ้นลักษณะเป็นยังไง ยอดเงินเท่าไร จ่ายโดยใคร วันที่เท่าไร

Q : วิธีการสร้างความน่าเชื่อถือของ e-Receipt

A : ในกระบวนการของเอกสารที่เราจะส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ หมายความว่า ใครก็ตามที่มาเห็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตัวนี้ จะต้องมั่นใจว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตัวนี่เป็นของจริง ในกระบวนการการสร้างความน่าเชื่อถือ เราเลยมองว่ามีปัจจัยอยู่สองข้อ

ข้อที่ 1) คือเรื่องของการมีบุคคลที่สาม หรือ Third party มายืนยันว่าเอกสารเป็นตัวจริง

ข้อที่ 2) คือเอกสารชุดนี้ต้องสามารถตรวจสอบได้ว่านี่ของจริง

ในกระบวนการการดำเนินการเอกสารใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ที่เราดำเนินการ เราเลยดำเนินการเป็นสองส่วน ทั้งหมดนี้เป็นเพราะว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในฝั่งของโรงพยาบาลเราน่าเชื่อถืออยู่แล้ว เพราะระบบของกระบวนการการเก็บเงินต่าง ๆ ของเราได้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001 เป็นตัวที่พร้อมใช้งานและเชื่อถือได้

หลังจากที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์ เราก็จะได้คำตอบของคำถามที่ว่า ‘ทำไมธุรกรรมยุคใหม่ถึงต้องใช้ e-Receipt’ นั่นเป็นเพราะ e-Receipt มีประโยชน์กับคนทั่วไป, ใช้ได้จริง และ น่าเชื่อถือ

แล้วคุณล่ะ วันนี้ทดลองใช้ e-Receipt แล้วหรือยัง?


ขอขอบคุณ

  • รศ.นพ. วิศิษฎ์ วามวาณิชย์
    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รศ.พญ. อุบลรัตน์ สันตวัตร
    รองคณบดีฝ่ายการคลัง
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศ.คลินิก นพ. อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์
    รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Page View: 507 times

Related Posts

2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs
18 June 2025

ประกาศรางวัล 5 ทีมที่ได้รับทุนต่อยอดใน Mahidol SDGs Impact Challenge 2025: Grand Pitching

ต่อยอดนวัตกรรมจาก 5 ทีม ด้วยรางวัลทุนสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Featured Article

16 July 2025

มหาวิทยาลัยมหิดลหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ยกระดับความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย

มหิดลหารือภาคีการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่วิทยาเขตศาลายา และอำนาจเจริญ
2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top
Scroll to Top