แกะรอย ‘HTA’ ความสำคัญของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

Published: 9 February 2023

การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment)  หรือ ‘HTA’ คือ การวิเคราะห์และประเมินผลกระทบอย่างรอบด้านที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์

เช่น วัคซีน ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ หัตถการ การตรวจวินิจฉัยรวมถึงรูปแบบการจัดบริการ และการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาใช้ในระบบสุขภาพเพื่อให้ได้ชุดข้อมูลที่สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านสุขภาพของประเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด

การนําเทคโนโลยีด้านสุขภาพต่าง ๆ มาใช้ในเชิงนโยบายจะต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานหรือข้อมูลที่เชื่อถือได้ และศึกษาความเป็นไปได้ที่ประเทศจะนำเทคโนโลยีด้านสุขภาพนั้นมาใช้กับระบบสุขภาพ โดยคำนึงถึงประสิทธิผล ความปลอดภัยของประชาชน ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบทางสังคม ความเป็นธรรม และจริยธรรมทางการแพทย์ งานวิจัย HTA จึงเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ในหลากหลายสาขาเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว

HTA ได้ถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage หรือ UHC) ให้กับประชาชนไทย ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านนโยบายสุขภาพแห่งชาติผ่าน ‘กระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ’ หรือการพิจารณาสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐนั่นเอง

นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จาก HTA เป็นหลักฐานทางวิชาการที่สำคัญที่นำมาใช้ในการปรับปรุงรายการยา หรือการบรรจุรายการยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งเป็นรายการยาอ้างอิงอันเป็นสิทธิประโยชน์ด้านยาสำหรับประชาชนไทย ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้มากขึ้น ตลอดจนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องยาที่จำเป็นต่อการรักษาโรคให้แก่ประชาชน

ด้วยเหตุนี้ ‘HTA’ จึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลที่ช่วยให้ผู้บริหารและบุคลากรด้านสาธารณสุขสามารถจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพ สําหรับแก้ปัญหาสาธารณสุขในระดับนโยบายของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วยคณาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถด้าน HTA ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้ผ่านหลักสูตรและการอบรมด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ รวมถึงมีบทบาทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำงานวิจัยทางด้าน HTA เช่น การพัฒนาคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ การพัฒนารายการต้นทุนมาตรฐาน การพัฒนาเพดานความคุ้มค่า การพัฒนาค่าอรรถประโยชน์สำหรับประชากรไทย รวมถึงได้ทำการวิจัยที่ช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบายของประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

ติดตามอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


ขอขอบคุณ

  • รศ.ดร.ภญ. อุษา ฉายเกล็ดแก้ว
    รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์
    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รศ.ดร.ภญ. มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์
    ภาควิชาเภสัชกรรม
    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รศ.ดร.ภก. อาทร ริ้วไพบูลย์
    ภาควิชาเภสัชกรรม
    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผศ.ดร.ภญ. ศิตาพร ยังคง
    ภาควิชาเภสัชกรรม
    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page View: 277 times

Related Posts

2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs
18 June 2025

ประกาศรางวัล 5 ทีมที่ได้รับทุนต่อยอดใน Mahidol SDGs Impact Challenge 2025: Grand Pitching

ต่อยอดนวัตกรรมจาก 5 ทีม ด้วยรางวัลทุนสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Featured Article

2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs
18 June 2025

ประกาศรางวัล 5 ทีมที่ได้รับทุนต่อยอดใน Mahidol SDGs Impact Challenge 2025: Grand Pitching

ต่อยอดนวัตกรรมจาก 5 ทีม ด้วยรางวัลทุนสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top
Scroll to Top