มหิดล – สสส. หารือแก้ปัญหาป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

Published: 9 January 2025

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมประชุมหารือขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ร่วมกับกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ห้องประชุมศ.เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ และทีมนักวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) และเจ้าหน้าที่

ทีมนักวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาวิจัยการสร้างงานวิชาการสู่การสร้างผลกระทบเชิงบวกในสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย (ระยะ 3 ปี) ซึ่งใช้กรอบการดำเนินงานผ่าน “กลไก 3E” Engineering, Enforcement, Education ดังนี้

  1. การใช้รูปแบบภาคีเครือข่ายที่แข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชน (ต้นทุนเครือข่าย) ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบายและภาคการเมือง ภาควิชาการ เอกชนและภาคประชาชน หน่วยงานเจ้าของเส้นทาง เครือข่ายต่างประเทศ และระบบบริการภาครัฐ
  2. การใช้ข้อมูล Big data และ Data mining เพื่อสร้างแรงจูงใจและพลังในการขับเคลื่อน อาทิ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) การทำ Data mining การประเมินความหนาแน่นของเคอร์เนล (KDE) สถิติ Getis-Ord Gi ฯลฯ
  3. การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน เช่น CCTV, Dash camera, Data cloud โดยใช้แนวทาง Safe road and roadside การออกแบบถนนที่ปลอดภัยและเหมาะสม Safe speed บังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเข้มงวดในการควบคุมความเร็ว Safe round users ฝึกอบรมผู้ขับขี่เกี่ยวกับการรับรู้อันตรายและระบบใบอนุญาตขับขี่แบบขั้นบันได Safe vehicles ระบบการสื่อสารระหว่างยานพาหนะ (V2V) และระบบการสื่อสารยานพาหนะและโครงสร้างพื้นฐาน (V2I)
  4. การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดการเสียชีวิตและทุพพลภาพหลังเกิดอุบัติเหตุ Safe post-crash care ใช้เทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองต่ออุบัติเหตุที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ระบบตรวจจับเหตุการณ์อัตโนมัติ ระบบตรวจจับอุบัติเหตุและจัดการจราจรอัจฉริยะ
  5. การพัฒนา Sandbox เพื่อเป็นต้นแบบ Best practice นำไปสู่การขยายผลอย่างต่อเนื่อง

ติดตามอัปเดตเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


Page View: 303 times

Related Posts

2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs
18 June 2025

ประกาศรางวัล 5 ทีมที่ได้รับทุนต่อยอดใน Mahidol SDGs Impact Challenge 2025: Grand Pitching

ต่อยอดนวัตกรรมจาก 5 ทีม ด้วยรางวัลทุนสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Featured Article

2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs
18 June 2025

ประกาศรางวัล 5 ทีมที่ได้รับทุนต่อยอดใน Mahidol SDGs Impact Challenge 2025: Grand Pitching

ต่อยอดนวัตกรรมจาก 5 ทีม ด้วยรางวัลทุนสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top
Scroll to Top