‘เปิดโลกภาษามือการจัดการ’ คลังคำศัพท์ธุรกิจเพื่อต่อยอดโอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพ

Published: 29 May 2023

รู้หรือไม่?

จากผลสำรวจสถานการณ์คนพิการในประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีผู้พิการจํานวนกว่า 2.15 ล้านคน ในจํานวนนี้มีผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายสูงถึง 401,318 คน และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี  

ผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายมีจำนวนผู้พิการสูงเป็นอันดับ 2 รองจากความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ซึ่งผู้พิการกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการสนับสนุนโอกาสการจ้างงานอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ที่กำหนดให้สถานประกอบการต้องมีการจ้างงานคนพิการในรูปแบบที่กำหนดตาม มาตรา 33 มาตรา 34 และ 35 ถูกบังคับใช้แล้วก็ตาม

แต่ด้วยปัญหาด้านการสื่อสารที่ต้องใช้ภาษามือเป็นสำคัญ อีกทั้งผู้พิการจำนวนมากก็ไม่สามารถจะใช้ภาษามือสื่อสารได้ และสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกจ้างงานผู้พิการประเภทอื่นมากกว่า

ประกอบกับปัญหาเรื่องการศึกษาที่พบว่าผู้พิการทางการได้ยินที่ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนน้อยมาก ดังนั้นโอกาสเติบโตในสายงานเมื่อทำงานในองค์กรหรือบริษัทจึงเป็นไปได้ยาก และมักถูกละเมิดสิทธิหรือเอารัดเอาเปรียบจนขาดโอกาสที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเหมือนคนทั่วไป

ทั้งนี้ภาษามือที่ผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายมีข้อจำกัดในการสื่อสาร กล่าวคือ คลังคำศัพท์ที่ใช้สำหรับสื่อสารเกี่ยวกับการทำงานยังไม่ได้มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสื่อสารขาดประสิทธิภาพ

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้พิการทางการได้ยินให้มีความรู้ และมีทักษะในการสื่อสารโดยเฉพาะเรื่องการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่จะช่วยยกระดับจากการเป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากสังคมให้กลายมาเป็นผู้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคมและประเทศชาติได้มากขึ้น

โครงการพัฒนาคลังคำศัพท์ภาษามือเรื่องการจัดการ เป็นผลงานวิจัยเพื่อสังคมของ ผศ.ดร.บุริม โอทกานนท์ รองคณบดีงานสนับสนุนการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสมาคมผู้พิการทางการได้ยินแห่งประเทศไทย โดยมีการวางแผนที่จะผลักดันคลังคำศัพท์นี้ให้เกิดการใช้งานในระดับสากลต่อไป

ขณะนี้การพัฒนาคลังคำศัพท์ภาษามือเรื่องการจัดการ ทำให้เกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ด้านการจัดการจำนวน 69 คำ แสดงผ่านคลิปวิดีโอที่มีทั้งภาษามือ การบรรยายด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้อย่างครบครัน เผยแพร่ผ่าน Youtube ของช่องภาษามือเรื่องการจัดการ (Deaf Sign Language)

การพัฒนาความรู้และการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญในการลดช่องว่างที่ผู้พิการทางการได้ยินกำลังเผชิญอยู่ นอกจากนี้การยกระดับเรื่องการศึกษายังสามารถสร้างและขยายโอกาสในการทำงานในระดับที่สูงขึ้นได้ และบ่มเพาะศักยภาพการเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการเพื่อประกอบอาชีพต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ติดตามอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


ขอขอบคุณ

  • ผศ.ดร. บุริม โอทกานนท์
    รองคณบดีงานสนับสนุนการศึกษา
    วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page View: 1,823 times

Related Posts

8 April 2025

มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมกิจกรรม “การติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี”

MUKA เข้าร่วมรายงานผลโครงการบริการวิชาการ 5 โครงการ ในการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
1 April 2025

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
27 March 2025

เปิดรับสมัคร “มหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1 (Mahidol Change Agent #1)”

ปลุกพลังนักสร้างสรรค์สังคมของมหาวิทยาลัย สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นอย่างแท้จริง

Featured Article

30 April 2025

มหิดล – มช. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ส่งเสริมการวิจัย นวัตกรรม กิจกรรมเพื่อสังคมและความยั่งยืน

ยกระดับการศึกษาภายใต้การสานพลังเพื่อความยั่งยืน (MUSynergy) ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
28 April 2025

มหิดลนครสวรค์เข้าร่วมการประชุมวิชาการผลงานวิจัยภูมิศาสตร์ นำเสนอผลงานการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

“การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
8 April 2025

มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมกิจกรรม “การติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี”

MUKA เข้าร่วมรายงานผลโครงการบริการวิชาการ 5 โครงการ ในการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top