ภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) ทักษะที่เด็กและเยาวชนไทยยุคใหม่ต้องมี

Published: 8 June 2023

ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้สื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยมีหลายประเด็น อาทิ

  • การถูกขโมยอัตลักษณ์ออนไลน์
  • การเสพติดเกมและการพนันออนไลน์
  • การใช้ประทุษวาจา (Hate speech)
  • ปัญหาข่าวปลอม (Fake news)
  • การรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberbullying)

ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนเกิดจากการใช้สื่อออนไลน์อย่างไม่ระมัดระวัง ซึ่งจากการศึกษาปัญหาการรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberbullying) ในประเทศไทยพบว่าเยาวชนเป็น ‘ผู้กระทํา’ ถึงร้อยละ 61.6% และเป็น ‘ผู้ถูกกระทํา’ ถึงร้อยละ 58.8% ดังนั้น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้สื่อออนไลน์ให้เด็กและเยาวชนไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) หมายถึง กระบวนการด้านการปรับตัวทางบวกและลดผลกระทบทางลบต่อชีวิตตนเองเมื่อต้องเผชิญกับความไม่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ อันเป็นกระบวนการที่ทําให้แต่ละบุคคลผ่านพ้น ปัญหาบนโลกออนไลน์และดําเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 อย่างร่วมกัน ได้แก่

  1. ทักษะทางดิจิทัล (The Youth Digital Skill) คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อผลิตผลงาน รวมถึงการเสพสื่อต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณ
  2. การมีภูมิคุ้มกันทางใจ (Resilience) คือ ความสามารถในการรับมือและยืนหยัดเผชิญหน้ากับปัญหา จนสามารถฟื้นฟูจิตใจของตัวเองได้หลังจากผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นไป
  3. ปัจจัยปกป้องในการใช้สื่อดิจิทัล (Digital Protective Factor) คือ สิ่งที่ช่วยทำให้เกิดการปรับตัวเพื่อสร้างเกราะป้องกันผลกระทบทางลบ

การสร้างภูมิคุ้มกันบนโลกออนไลน์จะถูกพัฒนาผ่านประสบการณ์ที่ได้เผชิญซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยมีหลักปฏิบัติง่าย ๆ 4 ข้อ ที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะต้องพบเจอได้ในอนาคต ดังนี้

  1. รู้ตัวว่าเมื่อใดที่ตนเองตกอยู่ในความเสี่ยง
  2. รู้ว่าต้องทําอย่างไรเพื่อขอความช่วยเหลือหากเจอภัยออนไลน์
  3. เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง
  4. รู้จักวิธีการกอบกู้สถานการณ์เมื่อเกิดปัญหา

การสร้างภูมิคุ้มกันบนโลกดิจิทัลให้กับเด็กไทยควรเกิดจากการรวมพลังของทุกคน โดยเริ่มต้นด้วยตัวของเยาวชนเองที่สามารถใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างรู้เท่าทันและมีทักษะในการสื่อสารอย่างมีสติ

มีครอบครัวเป็นกําลังสําคัญในการปลูกฝังให้เกิดการเสพสื่ออย่างเหมาะสมกับช่วงวัย รวมไปถึงในระดับสังคม  หน่วยงานต่าง ๆ และเจ้าของแพลตฟอร์มที่ต้องไม่นิ่งนอนใจต่อปัญหาจากการสื่อสารบนโลกดิจิทัล

ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงสื่อที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย หรือสื่อที่นําเสนอเรื่องความรุนแรงทางสังคมมากเกินไป การให้ความรู้กับเยาวชนและคนไทยทุกคนจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ การบริหารจัดการปัญหาบนโลกออนไลน์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการสื่อสารระหว่างช่วงวัย เพียงเท่านี้เราทุกคนก็สามารถร่วมกันสร้างสรรค์สังคมออนไลน์ที่สงบสุขได้อย่างแท้จริง

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล และการเพิ่มทักษะในการใช้สื่ออนไลน์ได้ที่ e-book Digital Resilience ภูมิคุ้มกันในโลกออนไลน์ (http://ebookservicepro.com/showcase/DigitalResilience/) ศึกษาและเรียบเรียงโดย รศ.ดร.โธมัส กวาดามูซ, คุณณัฐรัชต์ สาเมาะ และคุณวรวลัญช์ วรัชวรวัลย์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามอัปเดตเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference

  • รศ.ดร. โธมัส กวาดามูซ
    ภาควิชาสังคมและสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณวรวลัญช์ วรัชวรวัลย์
    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณณัฐรัชต์ สาเมาะ
    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page View: 12,801 times

Related Posts

1 April 2025

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
27 March 2025

เปิดรับสมัคร “มหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1 (Mahidol Change Agent #1)”

ปลุกพลังนักสร้างสรรค์สังคมของมหาวิทยาลัย สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นอย่างแท้จริง
25 March 2025

รับชมการชี้แจงโครงการ Mahidol Change Agent #1 ย้อนหลัง

รับชมวิดีโอบันทึกภาพการชี้แจงโครงการมหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1 ย้อนหลังได้แล้ววันนี้

Featured Article

8 April 2025

มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมกิจกรรม “การติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี”

MUKA เข้าร่วมรายงานผลโครงการบริการวิชาการ 5 โครงการ ในการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
1 April 2025

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
31 March 2025

มหิดลจัดกิจกรรม MUICT & ENVI MAHIDOL HACKATHON 2025

Hackathon ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจก และเข้าสู่สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top