ปลดล็อกการสื่อสารด้วยคลังคําศัพท์ภาษามือด้านการจัดการ

Published: 11 May 2023

การเริ่มต้นทำธุรกิจ ไม่ใช่แค่เพียงการมีเงินทุน แต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ  ซึ่งส่วนหนึ่งได้มาจากการเรียนรู้  การสั่งสมประสบการณ์ และได้รับการถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา จนเกิดเป็น ‘ทักษะผู้ประกอบการ’ ที่จะช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน

แล้วผู้พิการทางการได้ยินจะเรียนรู้และสื่อสารได้อย่างไรกันล่ะ ?

มาทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาคลังคําศัพท์ภาษามือเรื่องการจัดการเพื่อผู้พิการทางการได้ยิน ไปกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุริม โอทกานนท์ รองคณบดีงานสนับสนุนการศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

Q: ภาพรวมของผู้พิการทางการได้ยินในประเทศไทย

A: จากการค้นคว้าข้อมูลตอนเริ่มทำการวิจัยในปี พ.ศ. 2563 พบว่าประเทศไทยมีผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 391,785 คน โดยมีจํานวนเพิ่มขึ้นทุกปี

และจากสถิติการจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการปี พ.ศ. 2563 พบว่ามีผู้พิการที่ได้รับการจ้างงานเพียง 21,010 คน ยังมีผู้พิการอีกจำนวน 61,876 คน ที่ยังไม่ได้รับพิจารณาจ้างตามกฎหมาย

พอเราเข้าไปเก็บข้อมูลมากขึ้น ก็พบว่าคนกลุ่มนี้จะถนัดงานส่วนใหญ่ที่เป็นการทำซ้ำ เช่น ซักผ้า ชงกาแฟ คนกลุ่มนี้สามารถทำงานซ้ำ ๆ และทำทุกวันได้ แต่คำถามต่อไปคือ แล้วหลังจากนั้นมันจะเป็นอย่างไรต่อ…เมื่อโลกของเรากำลังมีจักรกลมาแทนที่ โดยเข้ามาทำงานแทนแรงงานที่ทำซ้ำ แล้วคนเหล่านี้อนาคตต่อไปจะเป็นอย่างไรล่ะ?

ดังนั้นเราจึงต้องเข้าไปช่วยเพื่อให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น และมีความเป็นมนุษย์ในรูปแบบที่เขารู้สึกว่าพึงพอใจ มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนอื่น

Q: กลุ่มผู้พิการทางการได้ยินจะสามารถพัฒนาชีวิตตัวเองได้อย่างไร

A: เราต้องช่วยเหลือสร้างให้เขามีอาชีพ เมื่อเขาสร้างอาชีพได้ เป็นผู้ประกอบการได้ ก็จะพัฒนาชีวิตตัวเองได้

แต่ปัญหาคือ กลุ่มคนที่พิการทางการได้ยินยังไม่มีภาษามือด้านการจัดการที่เป็นกิจจะลักษณะ จึงทำให้ขาดประสิทธิภาพในการสื่อสาร พอมีปัญหานี้เกิดขึ้น สิ่งที่เราอยากจะเข้าไปสอนเกี่ยวกับการจัดการก็ทำไม่ได้ เราก็ต้องไปพัฒนาคลังคำศัพท์เรื่องภาษามือการจัดการขึ้นมาก่อน

เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการจัดการสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน รวมถึงการผลิตคลังคำศัพท์และคู่มือคลังคำศัพท์ แล้วสร้างหลักสูตรต้นแบบด้านการจัดการที่ส่งเสริมการยกระดับศักยภาพ การพัฒนากระบวนการคิดและทัศนคติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้พิการทางการได้ยินอย่างมีศักยภาพ

โดยนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินงานมาวิเคราะห์แนวทางการขยายผลการเพิ่มขีดความสามารถของผู้พิการทุกคน และเพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการสนับสนุนการวิจัยไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

เพราะถ้าเขาเรียนแล้วทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้มากขึ้น เปลี่ยนความรู้ไปเป็นเงินได้ นั่นคือเราทำแล้วประสบความสำเร็จ

Q: ความสำคัญของการพัฒนาคลังคําศัพท์ภาษามือเรื่องการจัดการ

A: การที่จะทำให้เขาเติบโตได้เราต้องให้ความรู้เขา แต่ประเด็นคือความรู้เหล่านี้ไม่มีอยู่ในโรงเรียน โรงเรียนอาจสอนการใช้ชีวิต สอนการคำนวณ สอนการเขียนอ่านในระดับพื้นฐาน เพื่อทำให้เขามีชีวิตรอด สามารถสื่อสารกับผู้คนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

แต่เราพบว่าความรู้ที่เหนือกว่านั้น เช่น ความรู้ด้านการจัดการ ความรู้ด้านเทคโนโลยี กลุ่มคนเหล่านี้เขาไม่มีเลย

หน้าที่ของเราคือต้องทำให้องค์ความรู้มันกินได้ เพื่อเปลี่ยนความบกพร่องของคนที่พิการทางการได้ยินให้เป็นทุนของประเทศ

ติดตามอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


ขอขอบคุณ

  • ผศ.ดร. บุริม โอทกานนท์
    รองคณบดีงานสนับสนุนการศึกษา
    วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page View: 727 times

Related Posts

16 July 2025

มหาวิทยาลัยมหิดลหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ยกระดับความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย

มหิดลหารือภาคีการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่วิทยาเขตศาลายา และอำนาจเจริญ
2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs

Featured Article

16 July 2025

มหาวิทยาลัยมหิดลหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ยกระดับความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย

มหิดลหารือภาคีการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่วิทยาเขตศาลายา และอำนาจเจริญ
2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top
Scroll to Top