ทำความรู้จักสื่อการสอนประกอบภาพนูน เรื่อง ‘ฟันของเราและการแปรงฟันที่ถูกวิธี’

Published: 16 December 2022

รู้หรือไม่? ผู้พิการทางสายตามีปัญหาด้านสุขภาพช่องปากรุนแรงกว่าคนทั่วไป

เพราะการมองไม่เห็นทำให้ขาดความเข้าใจและการรับรู้เรื่องสุขภาวะช่องปากอย่างถูกต้อง จึงไม่สามารถทําความสะอาดฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญคือ…การสอนแปรงฟันให้กับผู้พิการทางสายตายัง ‘ขาดสื่อการเรียนการสอนด้านการแปรงฟัน’ ที่มีประสิทธิภาพ เพราะสื่อการสอนที่ดีและเหมาะสมสำหรับผู้พิการทางสายตาควรมีองค์ประกอบสำหรับการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ การสัมผัส เสียง และการลงมือปฎิบัติจริง เพื่อให้ตอบโจทย์การทดแทนประสาทสัมผัสที่บกพร่องหรือหายไป หากสื่อนั้นไม่สามารถทดแทนสิ่งเหล่านี้ได้ ก็อาจทําให้ผู้เรียนรู้ขาดการพัฒนาทักษะการแปรงฟันที่มีประสิทธิภาพ

จึงเป็นที่มาของการจัดทำหนังสือประกอบภาพนูน เรื่อง “ฟันของเราและการแปรงฟันที่ถูกวิธี” ขึ้น โดยมีการออกแบบหลักสูตรและเนื้อหาที่สอนการแปรงฟันสำหรับผู้พิการทางสายตา อาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ทางทันตกรรมจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการถ่ายทอดประสบการณ์ของคุณครูผู้สอนเด็กที่มีปัญหาทางสายตา ร่วมกับกรรมวิธีการผลิตหนังสือภาพนูนที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ

ผลลัพธ์ที่ได้คือ….หนังสือภาพนูนหนึ่งเล่มที่มีการเล่าเรื่องการสอนแปรงฟันผ่านอักษรเบรลล์ พร้อมเสียงบรรยายในขั้นตอนต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจขณะฝึกปฏิบัติการแปรงฟันอย่างถูกวิธี

‘หนังสือภาพนูนเรื่อง ฟันของเราและการแปรงฟันที่ถูกวิธี’ ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพด้วยงานวิจัยของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยทำการศึกษาในเด็กที่มีปัญหาทางสายตาจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะเป็นเด็กที่ใช้หนังสือภาพนูน อักษรเบรลล์ พร้อมฟังเสียงบรรยาย และปฏิบัติแปรงด้วยตัวเอง โดยที่มีคุณครูเป็นผู้คอยสังเกตการณ์ ซึ่งอาศัยความช่วยเหลือจากคุณครูเพียงเล็กน้อยเท่านั้น กับเด็กกลุ่มที่สองที่ไม่มีสื่อการสอนภาพนูน ให้ฟังเพียงเสียงบรรยายเพียงอย่างเดียว พร้อมมีคุณครูจับมือแปรงฟัน

เมื่อวัดผลทางด้านความรู้ความเข้าใจโดยการทำข้อสอบ วัดผลโดยการดูองศาการวางแปรงสีฟัน การขยับแปรงสีฟัน และจํานวนด้านที่แปรงฟันว่าครบถ้วนหรือไม่อย่างละเอียด พร้อมทั้งวัดผลลัพธ์สุดท้ายคือ…เรื่องความสะอาดของช่องปาก

จากการทดลอง 6 สัปดาห์ พบว่า เด็กกลุ่มแรกที่ได้ใช้สื่อการสอนอย่างครบถ้วน สามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน และแปรงได้สะอาดกว่าเด็กกลุ่มที่สองอย่างมีนัยสําคัญตั้งแต่สัปดาห์แรก รวมถึงมีความเข้าใจมากกว่า เมื่อครบ 6 สัปดาห์ก็ยังคงดีขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้น การใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและตอบโจทย์การทดแทนประสาทสัมผัสที่หายไปอย่างการใช้สื่อการสอนประกอบภาพนูนเรื่อง “ฟันของเราและการแปรงฟันที่ถูกวิธี” จะทำให้ความเข้าใจในการแปรงฟันของผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นนั้นดีขึ้น ซึ่งสิ่งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำสื่อการสอนให้กับผู้พิการทางสายตาในเรื่องอื่น ๆ ในอนาคตได้

ติดตามอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


ขอขอบคุณ

  • ผศ.ทพญ. วรณัน ประพันธ์ศิลป์
    ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารองค์กร คณะทันตแพทยศาสตร์
    Mahidol University

Page View: 1,808 times

Related Posts

8 May 2025

มหิดลเร่งบูรณาการข้อมูล AQHI กับเครือข่ายความร่วมมือ รพ. และภาครัฐ

ขยายขีดจำกัดการประยุกต์ใช้ข้อมูล AQHI สู่สังคมเป็นวงกว้างร่วมกับ รพ. และหน่วยงานภาครัฐ
8 May 2025

มหิดลจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “บทบาทสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในยุคดิจิทัล กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ส่งต่อความรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สู่การแก้ไขปัญหาสังคม และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
1 April 2025

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน

Featured Article

8 May 2025

มหิดลเร่งบูรณาการข้อมูล AQHI กับเครือข่ายความร่วมมือ รพ. และภาครัฐ

ขยายขีดจำกัดการประยุกต์ใช้ข้อมูล AQHI สู่สังคมเป็นวงกว้างร่วมกับ รพ. และหน่วยงานภาครัฐ
8 May 2025

มหิดลจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “บทบาทสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในยุคดิจิทัล กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ส่งต่อความรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สู่การแก้ไขปัญหาสังคม และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
1 May 2025

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหิดล ประกาศนโยบายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

เตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยิน เพื่อเป็นผู้นำในการเปลี่นยนแปลงเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top