ความสำคัญของการมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล

Published: 18 July 2023

ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้สื่อออนไลน์ และปัญหาการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberbullying) เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยเป็นจํานวนมาก ซึ่งนําไปสู่ผลกระทบในมิติสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ…โดยเฉพาะการส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต

เยาวชนยุคปัจจุบันจึงจําเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital resilience) เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดจากการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์และสามารถรับมือกับความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital resilience) ให้กับลูกหลานของทุกคนไปกับ รศ.ดร.โธมัส กวาดามูซ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คุณวรวลัญช์ วรัชวรวัลย์ และคุณณัฐรัชต์ สาเมาะ นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Q: ปัญหาการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberbullying) ของเยาวชนไทยปัจจุบัน

A: สถานการณ์ของ Cyberbullying ของเด็กไทยค่อนข้างน่าเป็นห่วง จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าเด็กและเยาวชนไทยมีประสบการณ์จาก Cyberbullying ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีประสบการณ์จากCyberbullying สูงถึง 33%

จากการเก็บข้อมูลจากนักเรียนกว่า 10,000 คนทั่วประเทศ เราเจอสถานการณ์ที่มีผู้ถูกกระทำมากถึง 58.8% และมีผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำถึง 61.6% ซึ่งถือว่าสถานการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วงอย่างมาก

โดย Cyberbullying ที่เด็กพบเจอมี 5 รูปแบบหลัก ๆ คือ

  1. โจมตีด้วยคำพูดหรือตัวอักษร เช่น การพูดเหยียดรูปลักษณ์ภายนอก (Body Shaming)
  2. การทำให้อับอายด้วยภาพและคลิป เช่น ภาพหลุด
  3. การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) เช่น ส่งรูปลามก ชวนมีเพศสัมพันธ์
  4. การแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น เช่น การปลอมหรือแฮ็ก Account, การแอบอ้างของมิจฉาชีพ
  5. การกีดกันบนพื้นที่ออนไลน์ เช่น Anti – Fan page

Q: การรับมือกับปัญหาจากการใช้สื่อออนไลน์

A: การรับมือกับภัยออนไลน์ได้จะต้องมี 2 สิ่ง คือ Media Literacy และ Digital Resilience

  1. Media Literacy คือ การรู้เท่าทันสื่อ สามารถ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ได้ว่าสื่อที่เรากำลังเสพมีนัยซ่อนเร้นอะไรหรือไม่ ต้องวิเคราะห์ให้ได้รอบด้านว่าสื่อเหล่านั้นถูกผลิตจากใคร น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
  2. Digital Resilience คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน เพราะเราไม่สามารถห้ามเยาวชนไม่ให้ใช้งานสื่อออนไลน์ได้ เราจึงต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้พวกเขามีความพร้อมในการรับมือกับภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีสติ

Q: เราจะสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล หรือ Digital Resilience ได้อย่างไร

A: เราไม่จำเป็นต้องวิ่งตามหรือจับตาดูพวกเขาตลอดเวลา ลองเริ่มจากการพูดคุยให้มากขึ้น พูดคุยกับลูกหลานให้มากขึ้น พูดคุยกับนักเรียนให้มากขึ้น เพื่อทำความรู้จักเขาให้มากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องตามไปเล่นสิ่งเดียวกับเขา

แค่พูดคุยและให้เวลาเขามากขึ้น ใส่ใจมากขึ้น และหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติที่เขาแสดงออกด้วยการถามไถ่อย่างเป็นมิตร

Q: เราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

A: ถ้าอ้างอิงจากงานวิจัยแล้วต้องขอบอกว่าเราต้องสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัลให้น้อง ๆ เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณต้องเข้าใจว่าทุกวันนี้พวกเขาโตขึ้นมากับอุปกรณ์เทคโนโลยี ผู้ปกครองบางท่านก็อาจจะเคยให้บุตรหลานดูโซเชียลมีเดียหรือเอาไว้เล่นเกมอะไรต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าต่างบานใหญ่ที่ช่วยให้เด็กได้เห็นและเชื่อมต่อกับโลกทั้งใบ

แต่หน้าต่างบานนี้ก็คงไม่ได้มีแต่ภาพหรือสิ่งที่ดีเพียงอย่างเดียว ดังนั้นแล้วเราให้โอกาสเด็กได้ใช้งานอุปกรณ์ เราก็ควรที่จะสอนหรือบอกเขาถึงอันตรายและวิธีใช้งานที่เหมาะสมครับ

ติดตามอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


ขอขอบคุณ

  • รศ.ดร. โธมัส กวาดามูซ
    ภาควิชาสังคมและสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณวรวลัญช์ วรัชวรวัลย์
    นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณณัฐรัชต์ สาเมาะ
    นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page View: 3,904 times

Related Posts

16 July 2025

มหาวิทยาลัยมหิดลหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ยกระดับความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย

มหิดลหารือภาคีการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่วิทยาเขตศาลายา และอำนาจเจริญ
2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs

Featured Article

16 July 2025

มหาวิทยาลัยมหิดลหารือแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ยกระดับความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย

มหิดลหารือภาคีการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่วิทยาเขตศาลายา และอำนาจเจริญ
2 July 2025

มหิดลจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Mahidol Change Agent #1”

มหิดลส่งต่อผู้นำที่มีอิทธิพลโดดเด่น 55 คน เพื่อพัฒนาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ตามแนวทาง SDGs

We use cookies to improve performance and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy And you can manage privacy setting at Setting Page

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top
Scroll to Top