ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ Air Quality Health Index (AQHI) เครื่องมือสื่อสารความเสี่ยงเชิงสุขภาพจากการรับสัมผัสมลพิษทางอากาศ และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมของประชาชน
ซึ่งมาจากการนำสารมลพิษอันตราย 4 ตัว ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ก๊าซโอโซน (O3) ที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงสุขภาพจากสารมลพิษทางอากาศในพื้นที่ โดยคำนวณจากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเพิ่มขึ้นของการเข้ารับการรักษาด้วยโรคทางระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด และระบบไหลเวียนเลือดกับการเพิ่มขึ้นของสารมลพิษทางอากาศ
และจะได้ผลการคำนวณ AQHI Index ที่มีการจัดอันดับความเสี่ยงต่อสุขภาพเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1.Low risk (ระดับ 1 – 3) สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ 2.Moderate risk (ระดับ 4 – 6) ลดระยะเวลาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก *กลุ่มเสี่ยงควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกอาคาร 3.High risk (ระดับ 7 – 10) สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา จัดให้มีห้องควบคุมคุณภาพอากาศ 4.Very high risk (ระดับ 10+) จัดให้มีห้องควบคุมคุณภาพอากาศและใส่อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นตลอดเวลา ประกาศให้มีการปฏิบัติงานนอกสำนักงาน
MAHIDOL CHANNEL | คลิป MU
โดย รศ.ดร.สุวิมล กาญจนสุธา อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัะยมหิดล และคณะวิจัย
Mahidol World | Clip MU (English Sub)
By Assoc. Prof. Dr.Suwimon Kanchanasuta, a lecturer at the Department of Environmental Health Sciences, the Faculty of Public Health, Mahidol University
ติดตามอัปเดตเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference
ขอขอบคุณคลิปจาก Mahidol Channel