3 เหตุผลที่ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ

เผยแพร่แล้ว: 29 กรกฎาคม 2566

เปิดเบื้องหลังการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของอุตสาหกรรมด้านการแพทย์อย่างบูรณาการ ตลอดจนการอัปเกรดประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงพยาบาลไทยให้ดียิ่งขึ้น

ลดระยะเวลาการทำงาน ลดความผิดพลาด และลดต้นทุนด้วยระบบการจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์รูปแบบใหม่

จากการดำเนินงานตลอดระยะเวลากว่า 13 ปี ของ รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวเรือใหญ่ผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศของห่วงโซ่อุปทานสุขภาพของไทย ที่จะทำให้เราได้ทราบกันว่า…ทำไมประเทศไทยจะต้องมีการจัดการห่วงโซ่อุปทานสุขภาพแบบบูรณาการด้วยนะ?

1. ประเทศไทยมีระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพแบบแยกส่วน (Fragmented data) ระบบสารสนเทศหรือระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพของประเทศไทยมีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลแบบของใครของมัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผู้รับบริการ ข้อมูลผู้ให้บริการ ข้อมูลยา ข้อมูลเวชภัณฑ์หรืออุปกรณ์การแพทย์ ต่างอยู่คนละที่กันทั้งสิ้น จึงทำให้การบริหารจัดการอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของคลังยาและเวชภัณฑ์ทำได้ยากมาก เพราะขาดการบูรณาการและการเชื่อมโยงของระบบฐานข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

2. ประเทศไทยมีมาตรฐานข้อมูลรหัสยามากถึง 8 รหัส! ประเทศไทยมีฐานข้อมูลรหัสยาด้วยกันทั้งหมด 8 รหัส ได้แก่ เลขทะเบียนยา (Reg. No), รหัสยา 24 หลัก (STD 24), บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย (TMT), บัญชียาหลักแห่งชาติ (NLEM), เอกสารกำกับยาประชาชน (PL), ระบบจำแนกยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (ATC), รหัสหมวดหมู่สินค้าและบริการที่มีการใช้งานในภาครัฐและเอกชน (UNSPSC) และ รหัสสินค้ามาตรฐาน (GTIN-13) หรือ รหัสบาร์โค้ด (GS1 Thailand)

ซึ่งการมีมาตรฐานเป็นจำนวนมากนั่นก็หมายความว่า ‘ฐานข้อมูลรหัสยาของไทยไม่มีมาตรฐาน!’ แต่ละหน่วยงานหรือองค์กรที่มีการใช้ข้อมูลที่ต่างกัน หรือการเรียกยาด้วยรหัสหรือชื่อคนละแบบจะทำให้ข้อมูลยาในระบบคอมพิวเตอร์แตกต่างกันออกไปด้วย เมื่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละที่ไม่สามารถคุยภาษาเดียวกันได้แบบอัตโนมัติเพราะใช้มาตรฐานข้อมูลยาคนละรหัสกัน ปัญหาในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ระหว่างผู้ผลิตและโรงพยาบาลจึงเกิดขึ้น

3. ผู้รับบริการไม่สามารถรู้ได้ว่า…ยาหรือวัคซีนที่ได้รับเข้าไปนั้นมาจากที่ไหนกันแน่! ความปลอดภัยในชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเสมอ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลย คือ การนำเข้าวัคซีนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่หลายฝ่ายตั้งคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมาก

การติดตามและสอบย้อนกลับสถานะข้อมูลของยาหรือเวชภัณฑ์ต่าง ๆ (Tracking and Traceability) จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด เพราะสามารถตรวจสอบได้ว่ามาจากผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ผู้กระจายสินค้า ผู้นำเข้ารายใด และไปที่ไหนในวันและเวลาใดบ้าง ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นจากกระบวนการดูแลติดตามยาและเวชภัณฑ์ให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจได้

โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทานสุขภาพแห่งชาติจึงเป็นการแก้ไขปัญหาตรงจุดอย่างแท้จริงทั้งระดับโครงสร้างจนถึงระดับปฏิบัติงาน โดยเริ่มต้นจากการรวบรวม ผสานข้อมูลจากทุกหน่วยงานเข้าไว้ด้วยกันอย่างบูรณาการ  มีการทำ Data Analytics เชื่อมโยงข้อมูลและควบรวมมาตรฐานข้อมูลรหัสยาทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลกลางระบบฐานข้อมูลยาและเวชภัณฑ์ (National Medicine Produce Catalogue Database: NMPCD) ตลอดจนการสร้างระบบการติดตามและสอบย้อนกลับสถานะข้อมูลของยาหรือเวชภัณฑ์ (Tracking and Traceability) ที่ทำให้เกิดศักยภาพในการปฏิบัติงานครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ

ความสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจน คือ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำระบบการติดตามและสอบย้อนกลับสถานะข้อมูลของยาหรือเวชภัณฑ์และวัคซีนโควิด 19 ได้สำเร็จ โดยในกระบวนการติดตามวัคซีนโควิด 19 ทำให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง และทราบข้อมูลทั้งหมดว่า วัคซีนตัวนี้ผลิตจากไหน ล็อตอะไร ขนส่งมากับรถอะไร กระจายสินค้าที่คลังไหน ใครรับ แจกจ่ายไปที่โรงพยาบาลใด และท้ายที่สุดไปฉีดวัคซีนตัวนั้นให้ใคร ซึ่งจะปรากฏอยู่ใน ‘แอปพลิเคชันหมอพร้อม’ ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนั่นเอง

ติดตามอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


ขอขอบคุณ

  • รศ.ดร. ดวงพรรณ กริชชาญชัย
    วหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าชม: 1,333 ครั้ง

Related Posts

1 เมษายน 2568

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
25 มีนาคม 2568

รับชมการชี้แจงโครงการ Mahidol Change Agent #1 ย้อนหลัง

รับชมวิดีโอบันทึกภาพการชี้แจงโครงการมหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1 ย้อนหลังได้แล้ววันนี้

Featured Article

8 เมษายน 2568

มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมกิจกรรม “การติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี”

MUKA เข้าร่วมรายงานผลโครงการบริการวิชาการ 5 โครงการ ในการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
1 เมษายน 2568

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
31 มีนาคม 2568

มหิดลจัดกิจกรรม MUICT & ENVI MAHIDOL HACKATHON 2025

Hackathon ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจก และเข้าสู่สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top