ความสำคัญของการมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล

เผยแพร่แล้ว: 18 กรกฎาคม 2566

ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้สื่อออนไลน์ และปัญหาการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberbullying) เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยเป็นจํานวนมาก ซึ่งนําไปสู่ผลกระทบในมิติสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ…โดยเฉพาะการส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต

เยาวชนยุคปัจจุบันจึงจําเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital resilience) เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดจากการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์และสามารถรับมือกับความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital resilience) ให้กับลูกหลานของทุกคนไปกับ รศ.ดร.โธมัส กวาดามูซ ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คุณวรวลัญช์ วรัชวรวัลย์ และคุณณัฐรัชต์ สาเมาะ นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Q: ปัญหาการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberbullying) ของเยาวชนไทยปัจจุบัน

A: สถานการณ์ของ Cyberbullying ของเด็กไทยค่อนข้างน่าเป็นห่วง จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าเด็กและเยาวชนไทยมีประสบการณ์จาก Cyberbullying ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีประสบการณ์จากCyberbullying สูงถึง 33%

จากการเก็บข้อมูลจากนักเรียนกว่า 10,000 คนทั่วประเทศ เราเจอสถานการณ์ที่มีผู้ถูกกระทำมากถึง 58.8% และมีผู้ที่เป็นฝ่ายกระทำถึง 61.6% ซึ่งถือว่าสถานการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วงอย่างมาก

โดย Cyberbullying ที่เด็กพบเจอมี 5 รูปแบบหลัก ๆ คือ

  1. โจมตีด้วยคำพูดหรือตัวอักษร เช่น การพูดเหยียดรูปลักษณ์ภายนอก (Body Shaming)
  2. การทำให้อับอายด้วยภาพและคลิป เช่น ภาพหลุด
  3. การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) เช่น ส่งรูปลามก ชวนมีเพศสัมพันธ์
  4. การแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น เช่น การปลอมหรือแฮ็ก Account, การแอบอ้างของมิจฉาชีพ
  5. การกีดกันบนพื้นที่ออนไลน์ เช่น Anti – Fan page

Q: การรับมือกับปัญหาจากการใช้สื่อออนไลน์

A: การรับมือกับภัยออนไลน์ได้จะต้องมี 2 สิ่ง คือ Media Literacy และ Digital Resilience

  1. Media Literacy คือ การรู้เท่าทันสื่อ สามารถ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ได้ว่าสื่อที่เรากำลังเสพมีนัยซ่อนเร้นอะไรหรือไม่ ต้องวิเคราะห์ให้ได้รอบด้านว่าสื่อเหล่านั้นถูกผลิตจากใคร น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
  2. Digital Resilience คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน เพราะเราไม่สามารถห้ามเยาวชนไม่ให้ใช้งานสื่อออนไลน์ได้ เราจึงต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้พวกเขามีความพร้อมในการรับมือกับภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีสติ

Q: เราจะสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล หรือ Digital Resilience ได้อย่างไร

A: เราไม่จำเป็นต้องวิ่งตามหรือจับตาดูพวกเขาตลอดเวลา ลองเริ่มจากการพูดคุยให้มากขึ้น พูดคุยกับลูกหลานให้มากขึ้น พูดคุยกับนักเรียนให้มากขึ้น เพื่อทำความรู้จักเขาให้มากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องตามไปเล่นสิ่งเดียวกับเขา

แค่พูดคุยและให้เวลาเขามากขึ้น ใส่ใจมากขึ้น และหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติที่เขาแสดงออกด้วยการถามไถ่อย่างเป็นมิตร

Q: เราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

A: ถ้าอ้างอิงจากงานวิจัยแล้วต้องขอบอกว่าเราต้องสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัลให้น้อง ๆ เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณต้องเข้าใจว่าทุกวันนี้พวกเขาโตขึ้นมากับอุปกรณ์เทคโนโลยี ผู้ปกครองบางท่านก็อาจจะเคยให้บุตรหลานดูโซเชียลมีเดียหรือเอาไว้เล่นเกมอะไรต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าต่างบานใหญ่ที่ช่วยให้เด็กได้เห็นและเชื่อมต่อกับโลกทั้งใบ

แต่หน้าต่างบานนี้ก็คงไม่ได้มีแต่ภาพหรือสิ่งที่ดีเพียงอย่างเดียว ดังนั้นแล้วเราให้โอกาสเด็กได้ใช้งานอุปกรณ์ เราก็ควรที่จะสอนหรือบอกเขาถึงอันตรายและวิธีใช้งานที่เหมาะสมครับ

ติดตามอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


ขอขอบคุณ

  • รศ.ดร. โธมัส กวาดามูซ
    ภาควิชาสังคมและสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณวรวลัญช์ วรัชวรวัลย์
    นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณณัฐรัชต์ สาเมาะ
    นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าชม: 885 ครั้ง

Related Posts

29 มีนาคม 2567

มหิดลจัดกิจกรรม “Salt Less for Better Life & Healthy”

หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม "Salt Less for Better Life & Healthy" ตามนโยบายมหาวิทยลัยสุขภาพดีด้วยการลดบริโภคโซเดียม
25 มีนาคม 2567

วิทยาเขตอำนาจเจริญจัดกิจกรรม “พัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”

ดร.อรรถพงษ์ ฤทธิทิศ สำนักวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ นำทัพจัดกิจกรรม "พัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง"
21 มีนาคม 2567

“ใส่บาตร ใส่ใจ ไม่ใส่เค็ม” กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสงฆ์ไทยให้ไกลโรค NCDs

วิทยาลัยศาสนศึกษาดำเนินกิจกรรม "ใส่บาตร ใส่ใจ ไม่ใส่เค็ม" ช่วยให้พระสงฆ์มีสุขภาวะที่ดีจากการลดบริโภคโซเดียมจากการรับประทานอาหารที่ถูกหลักและเหมาะสม

Featured Article

29 มีนาคม 2567

มหิดลจัดกิจกรรม “Salt Less for Better Life & Healthy”

หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม "Salt Less for Better Life & Healthy" ตามนโยบายมหาวิทยลัยสุขภาพดีด้วยการลดบริโภคโซเดียม
25 มีนาคม 2567

วิทยาเขตอำนาจเจริญจัดกิจกรรม “พัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”

ดร.อรรถพงษ์ ฤทธิทิศ สำนักวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ นำทัพจัดกิจกรรม "พัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง"
22 มีนาคม 2567

“รักและห่วง (ไต) เด็กไทยแข็งแรง by ครู” เสริมความรู้เด็กปฐมวัยด้านสุขภาวะในห้องเรียน

สถาบันเด็กแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จัดกิจกรรมเสริมความรู้เด็กปฐมวัยลดการบริโภคโซเดียมในห้องเรียน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top