โพสต์เดียวจบ! e-Receipt ใบเสร็จรับเงินอัจฉริยะที่ช่วยให้คุณรับบริการไวขึ้น

เผยแพร่แล้ว: 2 มิถุนายน 2565
F&A

คุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้เหมือนกันหรือไม่ ไปโรงพยาบาลแต่ละที กว่าจะได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลก็ต้องรอคิวนาน ๆ
แถมการจ่ายเงินก็ยุ่งยาก

แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าคุณรู้จักโครงการ การพัฒนาการจัดทำ และจัดเก็บใบเสร็จรับเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ของฝ่ายการคลัง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โดยบทความนี้จะพาไปรู้จัก ทำความเข้าใจ และ ตอบคำถามที่ว่า e-Receipt คืออะไร ทำงานอย่างไร และเราจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้

e-Receipt คืออะไร ?

e-Receipt คือ การจัดทำ และจัดเก็บใบเสร็จรับเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจุดเริ่มต้นของโครงการนี้เกิดขึ้นจาก

● ผู้ป่วยนอกมาใช้บริการรักษาพยาบาลมากกว่า 10,000 รายต่อวัน

● มีค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์และการจัดเก็บประมาณ 5 ล้านบาทต่อปี การพิมพ์ใบเสร็จรับเงินจะมีเอกสารที่เป็นต้นฉบับและสำเนา โดยการจัดเก็บเอกสารทางการเงินต้องเก็บเป็นเวลา 10 ปี

● นโยบายรัฐบาลที่มุ่งจะนำประเทศสู่ยุค Digital เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตด้วยการยกระดับการให้บริการให้กับผู้รับบริการ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

● การเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless society)

e-Receipt ทำงานอย่างไร ?

e-Receipt เกิดขึ้นเพื่อการจัดทำและจัดเก็บใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์มีการทำงานของระบบ ดังนี้

1. ผู้ป่วยสามารถชำระค่ารักษาพยาบาลได้ทั้ง 3 ช่องทาง คือ เคาน์เตอร์ชำระเงินผู้ป่วยนอก เครื่องชำระค่ารักษาพยาบาลอัตโนมัติ (Kiosk) และ Mobile Application “Siriraj Connect”

2. เมื่อระบบบันทึกรายการรับชำระค่ารักษาพยาบาลแล้ว ระบบจะสร้าง e-Receipt ขึ้นตามมาตรฐานรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และมีการรับรองประทับเวลา หรือที่เรียกว่า e-Timestamp จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ : Electronic Transactions Development Agency (ETDA) เพื่อพิมพ์เป็นเอกสารกระดาษ หรือสิ่งพิมพ์ออกให้กับผู้ป่วย (เฉพาะช่องทางชำระเงินหน้าเคาน์เตอร์ชำระเงิน) และเก็บบันทึกเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ในระบบฐานข้อมูลใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งมีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตามมาตรฐานสากล (ISO 27001)

เมื่อผู้รับบริการชำระค่ารักษาพยาบาลแล้ว ระบบจะบันทึกข้อมูลรายการชำระเงิน และสร้างใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่มีการลงลายมือชื่อและประทับตราเวลา เรียกว่า “e-Timestamp” จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์: Electronic Transactions Development Agency (ETDA) จากนั้นข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลของโรงพยาบาลศิริราช

ในกรณีที่ชำระเงินผ่านเครื่องชำระค่ารักษาพยาบาลอัตโนมัติ (Kiosk) ผู้รับบริการจะได้รับใบบันทึกรายการเพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการรับยาหรือการชำระเงิน หรือหากชำระผ่าน “Siriraj Connect” ผู้รับบริการจะได้รับหลักฐานการชำระเงินบนแอปพลิเคชัน แต่เมื่อชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ชำระเงินผู้ป่วยนอก

ผู้รับบริการจะได้รับใบเสร็จรับเงินแบบปกติ และสามารถตรวจสอบสถานะใบเสร็จรับเงินได้ผ่านเว็บไซต์ ได้ที่ > ตรวจสอบสถานะหลักฐานการชำระเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

3. ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถขอเอกสารใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทางของโรงพยาบาล และระบบจะจัดส่งให้ทาง e-mail อัตโนมัติ

คนทั่วไปได้ประโยชน์อะไรจาก e-Receipt ?

ได้รับความสะดวก ลดเวลา ไม่ต้องรอคิวนานเพื่อจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล เพราะขั้นตอนการจ่ายเงินแต่ละครั้งสั้นลง สามารถจ่ายที่ตู้ Kiosk หรือจ่ายผ่านแอปพลิเคชัน Siriraj Connect ก็ได้ ไม่ต้องรอรับใบเสร็จหรือถ้าต้องการก็สามารถขอผ่านอีเมลออกมาเหมือนของจริงได้

หากสนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านต่อได้ที่ MUSEF conference


ขอขอบคุณ

  • รศ.นพ. วิศิษฎ์ วามวาณิชย์
    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รศ.พญ. อุบลรัตน์ สันตวัตร
    รองคณบดีฝ่ายการคลัง
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศ.คลินิก นพ. อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์
    รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าชม: 3,142 ครั้ง

Related Posts

13 พฤษภาคม 2568

มหิดลเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ “ก้าวสู่องค์กรสุขภาพดี Healthy Organization” โดยเครือข่ายคนไทยไร้พุง

ก้าวสู่อีกขั้นของการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะที่ดีไปกับคณะสาธารณสุขศาสตร์และคณะเทคนิคการแพทย์ ด้วยรางวัล “ก้าวสู่องค์กรสุขภาพดี Healthy Organization”
8 พฤษภาคม 2568

มหิดลเร่งบูรณาการข้อมูล AQHI กับเครือข่ายความร่วมมือ รพ. และภาครัฐ

ขยายขีดจำกัดการประยุกต์ใช้ข้อมูล AQHI สู่สังคมเป็นวงกว้างร่วมกับ รพ. และหน่วยงานภาครัฐ

Featured Article

13 พฤษภาคม 2568

มหิดลเข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ “ก้าวสู่องค์กรสุขภาพดี Healthy Organization” โดยเครือข่ายคนไทยไร้พุง

ก้าวสู่อีกขั้นของการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะที่ดีไปกับคณะสาธารณสุขศาสตร์และคณะเทคนิคการแพทย์ ด้วยรางวัล “ก้าวสู่องค์กรสุขภาพดี Healthy Organization”
8 พฤษภาคม 2568

มหิดลเร่งบูรณาการข้อมูล AQHI กับเครือข่ายความร่วมมือ รพ. และภาครัฐ

ขยายขีดจำกัดการประยุกต์ใช้ข้อมูล AQHI สู่สังคมเป็นวงกว้างร่วมกับ รพ. และหน่วยงานภาครัฐ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top