แก้ปัญหาพฤติกรรมการกินของคนไทยด้วยสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ

เผยแพร่แล้ว: 20 สิงหาคม 2566

ภาวะโภชนาการเกิน (Overnutrition) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) เป็นปัญหาที่หลายประเทศยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคเหล่านี้ล้วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะเรื่อง ‘พฤติกรรมการบริโภครสเค็ม หวาน มัน’

แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรกันดีล่ะ?

ก่อนอื่นเลยเราต้องเข้าใจว่าปัญหาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคต้องแก้ที่ตัวบุคคล โดยเริ่มต้นว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนใส่ใจสุขภาพของตนเอง และแม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาดทั่วไปจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ฉลากโภชนาการ’ สำหรับบอกคุณค่าทางอาหารตามที่กฎหมายกำหนด แต่นั่นก็ไม่ได้สร้างความตระหนักถึงการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้เลย

จะดีไหม? ถ้าผลิตภัณฑ์อาหารมีสัญลักษณ์ที่ช่วยนำไปสู่การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ลดเค็ม ลดหวาน ลดไขมัน เพื่อสุขภาพที่ดีได้ง่ายยิ่งขึ้น

สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพเป็นสัญลักษณ์ทางโภชนาการประเภทหนึ่งที่กำกับอยู่บนหน้าบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้สัญลักษณ์นี้จะบ่งบอกว่ามีปริมาณของน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามกลุ่มอาหารนั้น ๆ

หนึ่งในฟันเฟืองคนสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการผลักดัน ‘สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ’ มายาวนานกว่า 7 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2559 คือ รองศาสตรจารย์ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ กลุ่มวิชาโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มต้นจากการพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานหลายภาคส่วน ก็ได้ตั้งโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ประชากรไทยทุกคนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งหากจะถามหาสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต่าง ๆ นั้นก็คงหนีไม่พ้นจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคของแต่ละบุคคลนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็น “สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)” ตัวช่วยของผู้บริโภคที่จะทำให้ได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพียงแค่สังเกตสัญลักษณ์ที่ติดอยู่บนหน้าซองผลิตภัณฑ์และเลือกสิ่งที่ดีกว่า ประกอบกับเทรนด์การดูแลสุขภาพกำลังเป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมาก สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพจึงประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้รับการตอบรับที่ดีทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน

ปัจจุบันประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์สูงถึงประมาณ 3,000 ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุม 14 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อาหารมื้อหลัก เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส ผลิตภัณฑ์นม อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว ไอศกรีม ไขมันและน้ำมัน ขนมปัง อาหารเช้าธัญพืช ขนมอบ อาหารว่าง อาหารจากปลาทะเลและอาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

สัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ มีเป้าหมายหลักอยู่ 2 อย่าง ประการแรก คือ สร้างความตระหนักรู้เรื่องโภชนาการให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในระดับบุคคล ประการที่ 2 คือ สร้างสภาพแวดล้อมทางอาหารให้เอื้อต่อการบริโภค โดยให้มีผลิตภัณฑ์อาหารที่ปรับปริมาณของน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่มีความเหมาะสมจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ง่าย สังเกตง่าย และใช้สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพเป็นเพียงเครื่องหมายแสดงคุณค่าทางโภชนาการที่ระบุว่าอาหารแต่ละประเภทมีปริมาณ น้ำตาล โซเดียม ไขมัน ดีต่อสุขภาพกว่าผลิตภัณฑ์อื่นในกลุ่มอาหารนั้น ๆ แต่ไม่ได้หมายรวมว่าผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามผู้บริโภคจะต้องมีการรับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ เลือกกินหลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้

ติดตามอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference


ขอขอบคุณ

  • รศ.ดร. วันทนีย์ เกรียงสินยศ
    กลุ่มวิชาโภชนาการ สถาบันโภชนาการ
    มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าชม: 5,505 ครั้ง

Related Posts

1 เมษายน 2568

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
25 มีนาคม 2568

รับชมการชี้แจงโครงการ Mahidol Change Agent #1 ย้อนหลัง

รับชมวิดีโอบันทึกภาพการชี้แจงโครงการมหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1 ย้อนหลังได้แล้ววันนี้

Featured Article

1 พฤษภาคม 2568

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหิดล ประกาศนโยบายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

เตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยิน เพื่อเป็นผู้นำในการเปลี่นยนแปลงเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
30 เมษายน 2568

มหิดล – มช. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ส่งเสริมการวิจัย นวัตกรรม กิจกรรมเพื่อสังคมและความยั่งยืน

ยกระดับการศึกษาภายใต้การสานพลังเพื่อความยั่งยืน (MUSynergy) ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
28 เมษายน 2568

มหิดลนครสวรค์เข้าร่วมการประชุมวิชาการผลงานวิจัยภูมิศาสตร์ นำเสนอผลงานการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

“การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top