อธิบาย Home Chemotherapy แบบ ครบ จบในโพสต์เดียว

เผยแพร่แล้ว: 3 สิงหาคม 2565

Home Chemotherapy คืออะไร

การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน หรือ Home Chemotherapy คือ ระบบบริการการบริหารยาเคมีบำบัดรูปแบบใหม่สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการบริหารยาเคมีบำบัดที่บ้านได้

เนื่องด้วยอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งที่จำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาล (IPD) เพิ่มมากขึ้นทุกปี และโรงพยาบาลก็มีจำนวนเตียงไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดล่าช้า ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการรักษาลดลง สร้างความกังวลให้แก่ผู้ป่วยและญาติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจึงได้พัฒนาระบบบริการรูปแบบใหม่ขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง จนเกิดเป็นโครงการบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน (Home Chemotherapy RAMA Model : HCRM) ในปี พ.ศ. 2558

ใครบ้างที่สามารถเข้าโครงการ Home Chemotherapy ได้ ?

1. เป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ หรือ ได้รับยาฟลูออโรยูราซิล หรือ 5-FU แบบต่อเนื่อง

2. เป็นผู้ป่วยที่ต้องใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ได้แก่ พอร์ต พิคไลน์ เป็นต้น

3. เป็นผู้ป่วยที่มีที่พักอาศัยไม่ห่างไกลจากโรงพยาบาลรามาธิบดี หรืออยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล (หรือขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของโรงพยาบาล)

4. เป็นผู้ป่วยและญาติที่ยินดีและมีความพร้อมในการดูแลตนเองและอุปกรณ์การให้ยาเคมีบำบัดที่บ้านได

การเข้ารับบริการ Home Chemotherapy

เดิมการเข้ารับการรักษามะเร็งด้วยการบริหารยาเคมีบำบัด 1 คอร์ส จะต้องให้ยาเคมีบำบัดจำนวน 12 ครั้ง และเข้ารับบริการบริหารยาเคมีบำบัดจากบุคลากรทางการแพทย์ โดยเข้าไปเป็นผู้ป่วยใน(IPD) ที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่เมื่อผู้ป่วยอยู่ในโครงการ Home Chemotherapy จะมีขั้นตอนการเข้ารับบริการที่ต่างกันออกไป ดังนี้

ขั้นตอนการรับบริการ Home Chemotherapy
เมื่อผู้ป่วยมะเร็งเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยวิธีบริหารยาเคมีบำบัดเริ่มต้นในครั้งที่ 1 ของคอร์สการรักษา ผู้ป่วยจะนอนรับยาในหอผู้ป่วยใน โดยใช้อุปกรณ์บริหารยาเคมีบำบัดที่เรียกว่า อีซี่ปัมพ์ (Elastomeric infusion pump) และมีขั้นตอนเข้ารับบริการ ดังนี้

1. ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เพื่อรับการอธิบายเกี่ยวกับการรักษา
2. ‘พยาบาลหน่วยมะเร็งและเภสัชกรคลินิก’ แนะนำการปฏิบัติตัวขณะบริหารเคมีบำบัดที่บ้าน การดูแลอุปกรณ์และผลข้างเคียงของยา
3. ‘พยาบาลประจำหอผู้ป่วย’ ให้การบริหารยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วย
4. ‘พยาบาลประสานงานโครงการ Home Chemotherapy’ ประเมินความพร้อมและความสามารถในการดูแลของผู้ป่วยและญาติ
5. ‘พยาบาลเยี่ยมบ้าน’ ประเมินความต้องการเรื่องการเยี่ยมและดูแลที่บ้าน

เมื่อผู้ป่วยผ่านการประเมินจากทีมแพทย์และเข้าโครงการ Home Chemotherapy ก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่บ้านในครั้งที่ 2 และต่อเนื่องไปตลอดจนครบรอบคอร์สการรักษา

1. ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เพื่อรับการอธิบายเกี่ยวกับการรักษา
2. ‘พยาบาลหน่วยมะเร็งและเภสัชกรคลินิก’ ประเมินการปฏิบัติตัวในการบริหารเคมีบำบัดที่บ้าน การดูแลอุปกรณ์และผลข้างเคียงของยา
3. ‘พยาบาลประจำหน่วยบำบัดระยะสั้น’ ให้บริการบริหารยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก และบรรจุยา 5-FU ในอุปกรณ์บริหารยาให้ผู้ป่วยนำกลับบ้าน
4. ขณะที่ผู้ป่วยบริหารยาเคมีบำบัดที่บ้าน ‘พยาบาล’ โทรศัพท์ประเมินอาการทุกวัน ผู้ป่วยโทรเบอร์สายด่วนขอคำแนะนำเมื่อมีปัญหาการบริหารยาที่บ้าน
5. เมื่อบริหารยาหมดแล้ว มารับการถอดอุปกรณ์และรับการดูแลสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (ฉีดยาละลายลิ่มเลือดเฮพาริน) ที่โรงพยาบาล หรือ ‘พยาบาลเยี่ยมบ้าน’ ไปถอดอุปกรณ์ให้ที่บ้าน (ในกรณีติดต่อไว้ล่วงหน้าแล้ว)

ผู้ป่วยมะเร็งและญาติได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้

1. ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับครอบครัวที่บ้านตามปกติ หรือไปทำงานได้
2. ผู้ป่วยได้รับยาตรงตามรอบการรักษา
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล
4. สามารถนอนหลับตามปกติได้ ไม่มีอุปกรณ์รบกวน
5. ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ โดยเก็บอุปกรณ์ยาอยู่ในเสื้อผ้าหรือกระเป๋าคาด
6. ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ แต่หลีกเลี่ยงผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มพอร์ต

หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาในการบริหารยาเคมีบำบัด สามารถโทรสายด่วนได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เบอร์โทร: 09 1774 6381 หรือ 0 2200 3614-5 ได้ทันที


ขอขอบคุณ

  • อ.นพ. พิชัย จันทร์ศรีวงศ์
    สาขาวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภญ. ปถมาภรณ์ ตั้งธีระคุณ
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พว. นพกาญจน์ วรรณการโสภณ
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าชม: 2,195 ครั้ง

Related Posts

1 เมษายน 2568

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
25 มีนาคม 2568

รับชมการชี้แจงโครงการ Mahidol Change Agent #1 ย้อนหลัง

รับชมวิดีโอบันทึกภาพการชี้แจงโครงการมหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1 ย้อนหลังได้แล้ววันนี้

Featured Article

1 พฤษภาคม 2568

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหิดล ประกาศนโยบายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

เตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยิน เพื่อเป็นผู้นำในการเปลี่นยนแปลงเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
30 เมษายน 2568

มหิดล – มช. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ส่งเสริมการวิจัย นวัตกรรม กิจกรรมเพื่อสังคมและความยั่งยืน

ยกระดับการศึกษาภายใต้การสานพลังเพื่อความยั่งยืน (MUSynergy) ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
28 เมษายน 2568

มหิดลนครสวรค์เข้าร่วมการประชุมวิชาการผลงานวิจัยภูมิศาสตร์ นำเสนอผลงานการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

“การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top