มหาวิทยาลัยมหิล ร่วมกับกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมประชุมหารือขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมประชุมหารือขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ร่วมกับกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ห้องประชุมศ.เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ และทีมนักวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) และเจ้าหน้าที่















ทีมนักวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาวิจัยการสร้างงานวิชาการสู่การสร้างผลกระทบเชิงบวกในสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย (ระยะ 3 ปี) ซึ่งใช้กรอบการดำเนินงานผ่าน “กลไก 3E” Engineering, Enforcement, Education ดังนี้
- การใช้รูปแบบภาคีเครือข่ายที่แข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชน (ต้นทุนเครือข่าย) ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบายและภาคการเมือง ภาควิชาการ เอกชนและภาคประชาชน หน่วยงานเจ้าของเส้นทาง เครือข่ายต่างประเทศ และระบบบริการภาครัฐ
- การใช้ข้อมูล Big data และ Data mining เพื่อสร้างแรงจูงใจและพลังในการขับเคลื่อน อาทิ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) การทำ Data mining การประเมินความหนาแน่นของเคอร์เนล (KDE) สถิติ Getis-Ord Gi ฯลฯ
- การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน เช่น CCTV, Dash camera, Data cloud โดยใช้แนวทาง Safe road and roadside การออกแบบถนนที่ปลอดภัยและเหมาะสม Safe speed บังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเข้มงวดในการควบคุมความเร็ว Safe round users ฝึกอบรมผู้ขับขี่เกี่ยวกับการรับรู้อันตรายและระบบใบอนุญาตขับขี่แบบขั้นบันได Safe vehicles ระบบการสื่อสารระหว่างยานพาหนะ (V2V) และระบบการสื่อสารยานพาหนะและโครงสร้างพื้นฐาน (V2I)
- การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดการเสียชีวิตและทุพพลภาพหลังเกิดอุบัติเหตุ Safe post-crash care ใช้เทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองต่ออุบัติเหตุที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ระบบตรวจจับเหตุการณ์อัตโนมัติ ระบบตรวจจับอุบัติเหตุและจัดการจราจรอัจฉริยะ
- การพัฒนา Sandbox เพื่อเป็นต้นแบบ Best practice นำไปสู่การขยายผลอย่างต่อเนื่อง
ติดตามอัปเดตเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference