ภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) ทักษะที่เด็กและเยาวชนไทยยุคใหม่ต้องมี

เผยแพร่แล้ว: 8 มิถุนายน 2566

ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้สื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยมีหลายประเด็น อาทิ

  • การถูกขโมยอัตลักษณ์ออนไลน์
  • การเสพติดเกมและการพนันออนไลน์
  • การใช้ประทุษวาจา (Hate speech)
  • ปัญหาข่าวปลอม (Fake news)
  • การรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberbullying)

ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนเกิดจากการใช้สื่อออนไลน์อย่างไม่ระมัดระวัง ซึ่งจากการศึกษาปัญหาการรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberbullying) ในประเทศไทยพบว่าเยาวชนเป็น ‘ผู้กระทํา’ ถึงร้อยละ 61.6% และเป็น ‘ผู้ถูกกระทํา’ ถึงร้อยละ 58.8% ดังนั้น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้สื่อออนไลน์ให้เด็กและเยาวชนไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) หมายถึง กระบวนการด้านการปรับตัวทางบวกและลดผลกระทบทางลบต่อชีวิตตนเองเมื่อต้องเผชิญกับความไม่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ อันเป็นกระบวนการที่ทําให้แต่ละบุคคลผ่านพ้น ปัญหาบนโลกออนไลน์และดําเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 อย่างร่วมกัน ได้แก่

  1. ทักษะทางดิจิทัล (The Youth Digital Skill) คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อผลิตผลงาน รวมถึงการเสพสื่อต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณ
  2. การมีภูมิคุ้มกันทางใจ (Resilience) คือ ความสามารถในการรับมือและยืนหยัดเผชิญหน้ากับปัญหา จนสามารถฟื้นฟูจิตใจของตัวเองได้หลังจากผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นไป
  3. ปัจจัยปกป้องในการใช้สื่อดิจิทัล (Digital Protective Factor) คือ สิ่งที่ช่วยทำให้เกิดการปรับตัวเพื่อสร้างเกราะป้องกันผลกระทบทางลบ

การสร้างภูมิคุ้มกันบนโลกออนไลน์จะถูกพัฒนาผ่านประสบการณ์ที่ได้เผชิญซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยมีหลักปฏิบัติง่าย ๆ 4 ข้อ ที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะต้องพบเจอได้ในอนาคต ดังนี้

  1. รู้ตัวว่าเมื่อใดที่ตนเองตกอยู่ในความเสี่ยง
  2. รู้ว่าต้องทําอย่างไรเพื่อขอความช่วยเหลือหากเจอภัยออนไลน์
  3. เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง
  4. รู้จักวิธีการกอบกู้สถานการณ์เมื่อเกิดปัญหา

การสร้างภูมิคุ้มกันบนโลกดิจิทัลให้กับเด็กไทยควรเกิดจากการรวมพลังของทุกคน โดยเริ่มต้นด้วยตัวของเยาวชนเองที่สามารถใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างรู้เท่าทันและมีทักษะในการสื่อสารอย่างมีสติ

มีครอบครัวเป็นกําลังสําคัญในการปลูกฝังให้เกิดการเสพสื่ออย่างเหมาะสมกับช่วงวัย รวมไปถึงในระดับสังคม  หน่วยงานต่าง ๆ และเจ้าของแพลตฟอร์มที่ต้องไม่นิ่งนอนใจต่อปัญหาจากการสื่อสารบนโลกดิจิทัล

ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงสื่อที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย หรือสื่อที่นําเสนอเรื่องความรุนแรงทางสังคมมากเกินไป การให้ความรู้กับเยาวชนและคนไทยทุกคนจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ การบริหารจัดการปัญหาบนโลกออนไลน์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการสื่อสารระหว่างช่วงวัย เพียงเท่านี้เราทุกคนก็สามารถร่วมกันสร้างสรรค์สังคมออนไลน์ที่สงบสุขได้อย่างแท้จริง

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล และการเพิ่มทักษะในการใช้สื่ออนไลน์ได้ที่ e-book Digital Resilience ภูมิคุ้มกันในโลกออนไลน์ (http://ebookservicepro.com/showcase/DigitalResilience/) ศึกษาและเรียบเรียงโดย รศ.ดร.โธมัส กวาดามูซ, คุณณัฐรัชต์ สาเมาะ และคุณวรวลัญช์ วรัชวรวัลย์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามอัปเดตเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ที่ MUSEF Conference

  • รศ.ดร. โธมัส กวาดามูซ
    ภาควิชาสังคมและสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณวรวลัญช์ วรัชวรวัลย์
    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณณัฐรัชต์ สาเมาะ
    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้าชม: 12,801 ครั้ง

Related Posts

1 เมษายน 2568

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
25 มีนาคม 2568

รับชมการชี้แจงโครงการ Mahidol Change Agent #1 ย้อนหลัง

รับชมวิดีโอบันทึกภาพการชี้แจงโครงการมหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1 ย้อนหลังได้แล้ววันนี้

Featured Article

8 เมษายน 2568

มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมกิจกรรม “การติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี”

MUKA เข้าร่วมรายงานผลโครงการบริการวิชาการ 5 โครงการ ในการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายการนำ อววน. สู่การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
1 เมษายน 2568

สรุปภาพรวมโครงการ Healthy University: Low Sodium Policy

สร้างชุมชนมหิดลลดบริโภคโซเดียมตั้งแต่ระดับนโยบาย - สร้างสภาพแวดล้อม - กระตุ้นความตระหนักรู้ อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวัน
31 มีนาคม 2568

มหิดลจัดกิจกรรม MUICT & ENVI MAHIDOL HACKATHON 2025

Hackathon ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจก และเข้าสู่สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top