ดอกกันภัยมหิดล

จดหมายเหตุประวัติของมหาวิทยาลัย

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ต้นกันภัยมหิดล กันภัยมหิดล: พรรณไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ดร. ศศิวิมล แสวงผล และ ดร. ทยา เจนจิตติกุล ภาควิชาพฤกษศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ในที่สุด “กันภัยมหิดล” ก็ได้รับเลือกให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เขียนในนาม คณาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร ์ คณะวิทยาศาสตร ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับรางวัลจากการประกวด

ในครั้งนี้ร่วมกับ รศ.วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ กับ ผศ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงขอเรียบเรียงเรื่องราวการประกวดต้นไม้ สัญลักษณ์ครั้งนี้ เพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยฯ

ปฐมเหตุ เนื่องในวันครบรอบ 30 ปี แห่งการพระราชทานนามมหาวิทยาลัย ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2542 มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดการประกวดต้นไม้สัญลักษณ์ ด้วยความเห็นที่ว่ามหาวิทยาลัยยังไม่ มีต้นไม้สัญลักษณ์ที่เป็นทางการดังเช่นสถาบันการศึกษาอื่น ทำให้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหิดลดำริที่ จะหาต้นไม้ใหม่เป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการและไม่ซ้ำกับที่อื่นจึงได้ตั้งกฎเกณฑ์การประกวดว่า ต้อง เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในแง่ใดแง่หนึ่งและ ไม่ซ้ำกับพรรณไม้สัญลักษณ์ของสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศไทย สุดท้าย มหาวิทยาลัยมหิดลประกาศว่า มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดถึง 202 คน มีต้นไม้ที่ถูกเสนอชื่อ 123 ต้น และตัดสินให้ “กันภัยมหิดล” เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ โดยสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้ประทานพระกรุณาธิคุณทรงมีพระวินิจฉัยชี้ขาด ด้วยเหตุผลว่า เป็น ต้นไม้ที่พบในประเทศไทย สามารถปลูกได้ง่าย มีนามเป็นมงคล มีชื่อพ้องกับนามมหาวิทยาลัย และมี ลักษณะสวยงามแม้จะเป็นไม้เถา แต่ก็สามารถจัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้หลายแบบ มีอายุยืนหลายปี และเมื่อ เถาแห้งไป ก็สามารถงอกงามขึ้นได้ใหม่ ซึ่งความเป็นไม้เถานี้สื่อความหมายถึงความก้าวหน้า และ ความสามารถในการปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดี

พืชชนิดนี้ พบครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2510 โดยนายเกษม จันทรประสงค์ ซึ่งขณะนั้นเป็น ข้าราชการกองพืชพรรณ กรมวิชาการเกษตร (ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย) ได้ เล่าเรื่องการพบพืชชนิดนี้ว่าท่านนั่งรถไฟไปลงที่สถานีวังโพ และเดินทางขึ้นภูเขาเตี้ยๆ หลังสถานีทางทิศ ตะวันออก ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับแม่น้ำแควน้อย เมื่อถึงเวลาเที่ยง ท่านได้หยุดพักรับประทานอาหารที่ใต้ ต้นไม้ ได้พบดอกไม้ชนิดหนึ่งร่วงอยู่ที่พื้น ท่านรู้สึกคุ้นกับลักษณะดอก เพราะคล้ายถั่วแปบช้างแต่คนละสี เมื่อมองขึ้นไปและเก็บลงมาเพื่อทำตัวอย่างแห้ง อีก 2 เดือนถัดมา คือวันที่ 15 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ท่านได้นำผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) เดินทางกลับไปที่เดิมเพื่อเก็บฝัก ที่เริ่มแก่ ให้ได้ตัวอย่างที่สมบูรณ์และขุดต้นกลับมาปลูกที่กรมวิชาการเกษตร สำหรับระบุ (identify) ว่า ต้นไม้นี้จะเป็นต้นไม้ชื่ออะไร เมื่อต้นไม้ต้นนี้ออกดอกที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 จึงได้เก็บ ตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างต้นแบบ พร้อมทั้งทำคำบรรยายเป็นภาษาละตินและวาดภาพส่งไปให้ Mr. B. L. Burtt พิสูจน์ชื่อที่สหราชอาณาจักร พร้อมทั้งขอพระราชทานชื่อเพื่อเป็นเกียรติกับพระชนนีศรีสังวาลย์ (พระยศในขณะนั้น) โดยเสนอคำว่า ศรีสังวาลย์ หรือมหิดล Mr. Burtt ได้แนะนำว่าให้ใช้มหิดล ซึ่งเขียน เป็นภาษาละตินว่า mahidolae ทั้งนี้ในขณะนั้นถั่วแปบช้าง (Afgekia sericea Craib) ซึ่งเป็นพืชที่มี ลักษณะคล้ายกันมากและอยู่ในสกุล (genus) เดียวกัน คือ สกุลแอฟกีเกีย (Afgekia) เป็นพืชชนิดเดียวใน สกุล ด้วยลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดหลายประการ ผศ.จิรายุพิน จึงแน่ใจว่าพืชต้นนี้เป็นพืชต่าง ชนิดแน่นอน และจะเป็นพืชชนิดที่สองในสกุลนี้ (ปัจจุบันค้นพบอีกชนิดหนึ่งคือ Afgekia filipes (Dunn) R.Geesink ซึ่งมีดอกสีเหลือง กระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของจีนและทางเหนือของไทย) เมื่อผลงานการ ค้นพบ และตั้งชื่อพืชชนิดนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของสวนพฤกษศาสตร์เอดินเบอเรอ ชื่อ Notes from the Botanic Garden Edinburgh Vol.31 No.1 ในเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2514 จึงได้ถือว่าพืชชนิดนี้มี ชื่อเป็นทางการตามกฏเกณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ ชื่อที่ได้รับคือ Afgekia mahidolae B. L. Burtt & Chermsir. แต่ไม่มีชื่อไทย ส่วนถั่วแปบช้างนั้นมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น กันภัย ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์กรมป่าไม้ จึงได้เสนอว่าควรเรียกพืชต้นนี้ว่า กันภัย หรือกันภัยมหิดล ท่าน กล่าวว่าในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนที่ย่างกุมารทองนั้น ได้ใช้เถากันภัยมัดกุมารทองไว้ และด้วยเหตุที่เรื่อง ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่เกิดในแถบจังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี เถากันภัยดังกล่าว จึงน่าจะเป็นพืช ชนิดเดียวกับพืชที่เพิ่งค้นพบนี้ สำหรับชื่อพฤกษศาสตร์ Afgekia mahidolae นั้น มีการแก้ไขให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ภาษาละ ติน โดยเติม -i- หลัง -l- เป็นดังนี้ Afgekia mahidoliae ตาม International Code of Botanical Nomenclature ฉบับแก้ไขครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นผลจากการชำระกฎการตั้งชื่อพฤกษศาสตร์เมื่อ ปี พ.ศ. 2548 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (เรียกกฎเล่มนี้ในชื่อย่อว่า Vienna Code ตีพิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2549) โดยคำแนะนำข้อ 60C.1.b ระบุว่าชื่อพฤกษศาสตร์ที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแด่บุคคล ถ้าชื่อบุคคลลง ท้ายด้วยตัวสะกด ให้เติม -i- และรูปคำระบุเพศต่อท้าย เช่น ชื่อบุคคลชาย Winit เป็น winitii ชื่อบุคคล หญิง Thaithong เป็น thaithongiae เป็นต้น กันภัยมหิดล (Afgekia mahidoliae B. L. Burtt & Chermsir.) วงศ์ FABACEAE (หรือ LEGUMINOSAE) วงศ์ย่อย Papilionoideae ถิ่นกำเนิด เป็นต้นไม้พื้นถิ่นของไทย พบตามป่าเต็งรัง ภูเขาหินปูนในภาคตะวันตก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ขนาดกลาง อายุหลายปี กิ่งอ่อนสีเขียว มีขนนุ่มทั่วไป ใบ ออกสลับ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ใบย่อย รูปรีแกมขอบขนานขนาด 2.2-3.5 x 5-6.5 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ใต้ใบมีขนหนาแน่นกว่าด้านบนใบ ดอก ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อยาว 12-25 เซนติเมตร ดอกทยอยบานจากโคนช่อมา ปลายช่อ 4-6 ดอก กลีบประดับสีม่วงอมเขียว รูปเรียว กลีบเลี้ยงสีม่วงอ่อน โคนกลีบเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก ดอกรูปดอกถั่ว มี 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วง โคนกลีบมีแถบสีเหลืองรูปสามเหลี่ยม กลีบคู่ข้างสีม่วงเข้ม กลีบคู่ล่างสีเหลืองอ่อน มีขนปกคลุม ออกดอกเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ผล เป็นฝักรูปแถบ สั้น ขนาด 2-4 x 7-9 เซนติเมตร สีน้ำตาล มีขนปกคลุม เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ด รูปกลม 2 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง1.5 เซนติเมตร สีดำเป็นมัน ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด สภาวะเหมาะสม แสงแดด ประโยชน์ ปลูกประดับซุ้มไม้เลี้อย