วันที่ 3 กรกฎาคม 2568 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 18/2568 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์
1. ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
(1) การพัฒนาเครือข่ายวิจัยระดับนานาชาติ โครงการ “Carbon Neutrality Campus” โดยความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมฯ ม.มหิดล, ม. Shanghai Jiao Tong และ UNESCAP โดยทุนสนับสนุนจาก ม.มหิดล เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนา Joint Unit ด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
(2) การพัฒนาระบบนิเวศงานวิจัย ในปี 2567-2568 โดยสนับสนุนทุนวิจัยภายใน และสร้างแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกแก่คณาจารย์ พร้อมดำเนินการวัดผลกระทบการวิจัยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Research Impact Measurement) (โครงการต่อเนื่อง)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
(1) ในปีงบประมาณ 2568 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ได้รับคัดเลือกเข้ารับการตรวจประเมินการรับรองมาตรฐาน AUN-QA ในระดับอาเซียน
(2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเร่งรัดและขยายผลการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากร CWIE+EEC Model Type A Master Class ประจำปีงบประมาณ 2567
(3) โครงการพัฒนาหลักสูตรด้านความยั่งยืน (Sustainability Program) หลักสูตรปริญญาโท สาขาการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน (Sustainable Enterprise Management) ภาคพิเศษ เพื่อรองรับตลาดแรงงานความต้องการใหม่ในด้านนักวิเคราะห์ความยั่งยืน
(4) โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนใน จ.นครปฐม และฝั่งธนบุรี จำนวน 11 แห่ง เพื่อปูพื้นฐานการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับมัธยมศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาต่อในคณะสิ่งแวดล้อมฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
(1) ปีงบประมาณ 2568 คณะได้รับทุนสนับสนุนโครงการห้องทดลองเชิงนโยบาย (Policy Lab) มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การพัฒนาหน่วยงานที่ปรึกษาเชิงนโยบายด้านการเปลี่ยนถ่ายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล, และ ทุนสนับสนุนโครงการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยรูปแบบ “Living Lab” มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ขับเคลื่อนการจัดการขยะผ้าอนามัย: สู่สุขภาพที่ยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล
(2) ศูนย์บริการด้านสิ่งแวดล้อมครบวงจร (One Stop Service Environmental Clinic Center) บริการให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์ และให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(3) การออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมแบบเฉพาะ (Tailor-Made Training Programs) ที่สอดคล้องกับทิศทางและกระแสด้านสิ่งแวดล้อมทั้งระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ (โครงการต่อเนื่อง)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
(1) คณะได้ใช้เกณฑ์ EdPEx เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการ มุ่งเสริมสร้างศักยภาพและความยั่งยืนในทุกมิติเพื่อพัฒนาขีดความสามารถสู่รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQC) ภายในปี 2569-2570
(2) ในปี 2567 เป็นต้นมา คณะได้มีการบริหารจัดการทางการเงินเชิงกลยุทธ์ โดยมีการวิเคราะห์ต้นทุน พัฒนาระบบติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ (S-Curve) จัดทำ Business Model สำหรับหลักสูตรและโครงการบริการวิชาการ
(3) การจัดโครงการ Happy Workplace มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงทางการเงินและลดภาระหนี้สิน (HAPPY WEALTH) ปลูกฝังน้ำใจและความเอื้ออาทร (HAPPY HEART) ส่งเสริมสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง (HAPPY HEALTH) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความสุขเสริมสร้างความผูกพัน และสนับสนุนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อความยั่งยืน
(4) การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร Training Roadmap พ.ศ. 2568-2572 (5) ผลการประเมิน ITA ของคณะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2565 ได้คะแนน 80.43%, ปีงบประมาณ 2566 ได้คะแนน 85.62%, และปีงบประมาณ 2567 ได้คะแนน 93.21% แสดงถึงความโปร่งใสและธรรมาภิบาลที่ดีขององค์กร
2. เป้าหมายที่ท่านคาดหวังว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2569-2570)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
(1) Research Performance มุ่งเน้นพัฒนางานวิจัยที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม บรรลุผลกระทบระดับ C (Contribute to solutions) ตามเกณฑ์ SDG Impact Measurement and Management ของ UNDP พร้อมทั้งผลักดันให้มีการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริงในระดับนโยบายและชุมชน
(2) Field-weighted Citation Impact (FWCI): มุ่งยกระดับค่าดัชนีการอ้างอิงของผลงานวิจัยให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยสากลในแต่ละสาขาวิชา เพื่อสะท้อนถึงคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และผลกระทบของงานวิจัยในระดับนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
(1) การรับรองหลักสูตรตามมาตรฐาน AUNQA เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการวิจัย
(2) ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์จริง สร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการฝึกงานและการพัฒนาทักษะของนักศึกษาระดับป.ตรี ให้พร้อมทำงานทันทีหลังจบการศึกษา
(3) เพิ่มจำนวนนักศึกษาในระดับป.โทด้วยหลักสูตรด้านการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืนที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน และมีความร่วมมือกับสถานประกอบการในการร่วมจัดการเรียนการสอน
(4) พัฒนาหลักสูตรอนุปริญญาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งเป้าที่ประชาชนทั่วไปที่จบการศึกษาระดับ ปวส. หรือ กศน.
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
(1) มุ่งสู่การเป็นศูนย์ทวนสอบ เรื่อง การประเมินการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย Net Zero emission ของประเทศไทย พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตร องค์ความรู้ และแนวทางปฏิบัติ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคท่องเที่ยว และ ภาคการเกษตร เพื่อให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ส่งเสริมการดูแลสุขภาพชุมชนผ่านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร เพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน จังหวัดลำปาง
(3) สร้างหลักสูตรฝึกอบรมแบบเฉพาะ (Tailor-Made Training Programs) ที่สอดคล้องกับทิศทางและกระแสด้านสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์ลูกค้า ทั้งระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ (โครงการต่อเนื่อง)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
(1) รางวัล TQC (Thailand Quality Class) เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ
(2) Sustainable Organization การบริหารจัดการทรัพยากรและกระบวนการภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน รองรับการดำเนินงานด้านวิจัยและนวัตกรรมในระยะยาว
(3) สร้างเสถียรภาพทางการเงินและการบริหารทรัพยากรด้วยการขยายแหล่งรายได้ พร้อมเสริมสร้างระบบการเงินที่มั่นคงเพื่อรองรับการเติบโตของคณะในอนาคต