คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 22/2568 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 21/2568 ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
July 18, 2025
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 23/2568 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
July 18, 2025

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 22/2568 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 18 กรกฎาคม 2568 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 22/2568 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ณ ห้องประชุม R114 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์

1. ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
1) Mobile Stroke Unit
2) The 48th International Exhibition of Inventions Geneva
3) BKK Rail
4) CHEM Meter
5) อนุภาคคาร์บอนเรืองแสงรักษาโรคมะเร็ง
6) AI System for Forensic Investigation of Sex Crime
7) Biopolymer Gel for Brain Cancer
8) AI-MED ระบบปัญญาประดิษฐ์ตรวจสอบความถูกต้องของการจัดยาในใบสั่งยา (ลิขสิทธิ์)
9) หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบแหล่งกำเนิดรังสีเคลื่อนที่ (สิทธิบัตร)
10) World Top 2% Scientists 2 ท่าน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
1) ผ่านการประเมินมาตรฐาน ABET 7 หลักสูตร (ปี 65: 7 หลักสูตร, ปี 67: 7 หลักสูตร)
2) Senior Fellow (SFHEA) 2 ท่าน (ปี 2567)
3) MUPSF ระดับ 2 จำนวน 15 ท่าน (ปี 2566 8 ท่าน ปี 2567: 15 ท่าน)

ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1) อุปกรณ์จดบันทึก “จดจำ”
2) MUEG Mobile Battery Charger
3) บริษัท Spin off 3 บริษัท
4) Capacity Building 13,905,800 บาท
5) International Collaborating Center : Harbin Engineering University และ Kyoto University

ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
1) Thailand Quality Class : TQC 2022
2) ห้องทดลองที่ได้รับมาตรฐาน ISO17025 1 ห้อง , ISO13485 1 ห้อง , ESPReL 14 ห้อง , Peer Evaluation 2 ห้อง

2. เป้าหมายที่ท่านคาดหวังว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2569-2570)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation

1) การเพิ่มงานวิจัยที่มีคุณภาพผ่านการส่งเสริมแบบมุ่งเป้า 5 clusters โดยมุ่งเน้นการนำไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมและสอดคล้องกับ SDGs ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ โดยผ่านการมีส่วนร่วมในรูปแบบสหวิทยาการและในระดับนานาชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
1) พัฒนาความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อสร้างหลักสูตรนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าระดับโลก ขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันพันธมิตรในต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1)สนับสนุนการนำองค์ความรู้และงานวิจัยต่าง ๆ ไปสู่การบริการวิชาการของคณะวิศวกรรมศาสตร์
2) สนับสนุนชุมชนที่สำคัญในการทำกิจกรรม/โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมผลักดันโครงการให้เป็นนโยบายสาธารณะ
3) พัฒนารูปแบบบริการวิชาการเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืนด้วย Social Enterprise

ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
1) ผ่านการประเมิน ITA ระดับผ่านดี
2) ผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx Score (Leading Indicators) 400-450 คะแนน
3) ได้รับรางวัล Thailand Quality Class Plus Award : TQC (Lagging Indicators)
4) มีค่า Net Profit Margin และ ค่า ROA มากกว่าร้อยละ 5 ในปีงบประมาณ 2569 และ 2570
5) การจัดอันดับ THE World University Rankings by Subject: Engineering ให้อันดับเพิ่มขึ้น เป็น 600-800 ในปี 2570 เพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ข้อ 4.7 เรื่อง THE Impact Rankings
6) เสริมกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐาน ระบบซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ พร้อมรองรับ Resilience พัฒนา One-stop Service ที่เชื่อมโยงระบบ พร้อมข้อมูลคุณภาพเพื่อการตัดสินใจทุกระดับ