วันที่ 13 มิถุนายน 2568 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 4/2568 ของ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และรักษาการแทนผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วมนำเสนอและรับฟังความคิดเห็น ณ ห้องประชุมอาคารปัญญาพิพัฒน์ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาและผ่านทางออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
1.Publication: SCOPUS Q1
– Boontinand, V. (2024). Educating about, through and for human rights and democracy in uncertain times: The promise of the pedagogy of the community of philosophical inquiry. Educational Philosophy and Theory. 1-14.
– Kranrattanasuit, N. (2024). Utilising the communication for development approach to prevent online child trafficking in Thailand. Humanities and Social Sciences Communications, 11(197).
– Capaldi, Mark P. (2023). The sexual exploitation of boys: Lost on the margins of GBV responses? Child Abuse & Neglect, 142(Pt 2). (Dr. Mark Peter Capaldi)
– Boontinand, V. (2023). Educating for citizenship in a fragile democracy: interrogating civic agenda in Thai higher education. Compare, 53(3), 471 – 487.
2. Innovation :
– 2025 Innovation Silver Award in Cultural Creativity, Education, and Social Science, Bangkok International Intellectual Property, Innovation and Technology Exposition: IPITEx2025
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovation Education and Authentic Learning
1.เป็นผู้นำในการจัดการเรียนการสอนด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพแบบสหวิทยาการ ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นผู้ประสานงานหลักของ Global Campus of Human Rights ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และจัดอบรมเพื่อพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านสิทธิมนุษยชน ให้แก่นักวิชาการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (โครงการต่อเนื่อง)
2. อาจารย์ของโครงการจัดตั้งสถาบันฯ คือ Dr. Michael George Hayes ยังได้รับการสนับสนุนและผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน MUPSF ระดับ 3 Senior Fellow (SFHEA) การจัดการเรียนการสอนข้ามศาสตร์ ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล (MUPSF)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1.ร่วมมือกับเครือข่ายระหว่างประเทศ Global Campus of Human Rights ในการเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนด้านสิทธิมนุษยชน สันติภาพ และประชาธิปไตย และการทำวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน ให้แก่นักวิชาการและนักศึกษาชาวเมียนมา ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (โครงการต่อเนื่อง)
2.ได้รับการยอมรับจากองค์กรและเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยเป็นสำนักเลขาฯ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ด้านการศึกษาสิทธิมนุษยชน (ASEAN University Network-Human Rights Education: AUN-HRE) เป็นสมาชิกเครือข่าย Southeast Asian Human Rights Studies Network (SEAHRN) และเป็นสำนักเลขาฯ โครงการ Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in ASEAN/Southeast Asia (SHAPE-SEA) และโครงการ Enhancing Access to Education on Human Rights, Democracy & Peace in Myanmar (PNMD)
3.โครงการบริการวิชาการและการรับผิดชอบต่อสังคมของโครงการจัดตั้งสถาบันฯ โดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก สามารถสร้างตัวแบบของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นผู้นำในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายขับเคลื่อนกระบวนการสร้างสันติภาพด้าวยการประสานพลังภาคประชาสังคมและภาคการเมือง โดยมีโครงการเพื่อนรักต่างศาสนา ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการตอบเป้าหมาย SGDs Goal 3, 4, 16, 17 (โครงการต่อเนื่อง)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
1.โครงการจัดตั้งสถาบันฯ มีการปรับการบริหารงบประมาณโดยการเปลี่ยน Profit center จากเดิมเป็นการบริหารงบประมาณ ภายใต้สำนักงานอธิการบดี (รหัส 0123) เปลี่ยนเป็นการบริหารงบประมาณให้มีสถานะเทียบเท่าระดับส่วนงาน (รหัส P41) เนื่องจากโครงการจัดตั้งสถาบันฯ มีรายได้จากแหล่งต่างๆ เข้ามามากขึ้น เช่น รายได้จากแหล่งทุนภายนอก รายได้จากการบริการและวิจัย รายได้ค่าบำรุงรับจัดสรร เป็นต้น ในการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ทางโครงการจัดตั้งสถาบันฯ มีการบันทึกบัญชีเทียบเท่าส่วนงาน ทำให้ทราบถึงรายรับรายจ่ายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดว่าโครงการจัดตั้งสถาบันฯ ยังไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดข้อมูลในระบบ ERP ได้ครบถ้วน
2.เป้าหมายที่ท่านคาดหวังว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2569-2570)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
1.โครงการหลักสูตรสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาประชาธิปไตย (APMA Progam) ภายใต้การสนับสนุนจาก Global Campus of Human Rights (GC) ให้เกิดการทำงานวิจัยข้ามภูมิภาคในสาขาสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาประชาธิปไตย ในปีงบประมาณ 2569-2570 มีการลงนามความร่วมมือ ร่วมกับ UN โดยมี OHCHR เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ทางหลักสูตรจะทำงานร่วมกับ OHCHR Regional Office of Southeast Asia ในการทำวิจัยในประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจ ได้แก่ สิทธิมนุษยชนกับสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชนกับธุรกิจ สิทธิมนุษยชนกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชนกับผู้หญิง/เยาวชน และสิทธิมนุษยชนกับเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น
2.โครงการวิจัยการพัฒนาเมืองสิทธิมนุษยชน (Human Rights City – HRC) ได้รบทุนวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช) ศึกษาและถอดบทเรียนจากเครือข่ายเมืองสิทธิมนุษยชนต้นแบบใน 4 ประเทศ เพื่อพัฒนาโมเดลเมืองสิทธิมนุษยชน และจัดทำตัวชี้วัดคุณภาพมาตรฐานเมืองสิทธิมนุษยชน และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างเมืองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ส่งเสริมธรรมาภิบาล และการเคารพสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย เกิดผลผลิตเป็นบทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ Q1 – Q2 ในฐาน SCOPUS
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovation Education and Authentic Learning
1.หลักสูตรฯ จะร่วมกับศูนย์ประสานงานเครือข่าย Global Campus of Human Rights ในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาประชาธิปไตยในแบบออนไลน์ให้มากขึ้น โดยจะมีการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและนักเคลื่อนไหวทั้งในเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่นๆ
2.การวางแผนกิจกรรม workshop หรือการอบรมออนไลน์ที่มีวิทยากรเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงปีงบประมาณ 2569-2570 อันเป็นผลจากการลงนามความร่วมมือระหว่าง Global Campus of Human Rights และ OHCHR (UN)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1.บุคลากรของหลักสูตรฯ มีบทบาทในการเสริมสร้างศักยภาพของนักปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนรุ่นใหม่ผ่านโครงการและกิจกรรมของ Global Campus of Human Rights โดยกิจกรรมเหล่านั้นมีส่วนในการส่งเสริม SDGs Goal 4, 5, 10, 16, 17 เพราะมีการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาประชาธิปไตยในเอเชียแปซิฟิกและระหว่างภูมิภาคเพื่อเป้าหมายคือการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่ประชาชนในสังคมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในเอเชียแปซิฟิก
2.ขับเคลื่อนนโยบายสร้างสุขภาวะสันติภาพชายแดนใต้ ผ่านโครงการเพื่อนรักษ์สุขภาวะ เพื่อส่งเสริม SDGs Goal 2, 3, 4, 5, 11, 16, 17 โครงการนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) ซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายโดยตรง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
1.พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนให้มีทักษะความเชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์ความยั่งยืนขององค์กร