วันที่ 24 เมษายน 2568 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันคลังสมองของชาติ จัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ผ่านกรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้แนวคิด “แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การจัดระบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย” โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างนวัตกรรมอุดมศึกษา ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาอุดมศึกษาไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายสารสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริศ หนูหอม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ ดร.เจษฎา อานิล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ภทรภรต ภัทร์สทธรรม ที่ปรึกษาด้านสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.บวร ปภัสราทร ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กรรมการบริหารสถาบันคลังสมองของชาติ และนายแพทย์ปิยะฤทธิ์ อิทธิชัยวงศ์ ศูนย์นวัตกรรมข้อมูลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางด้านมหาวิทยาลัยดิจิทัล จำนวน 45 ท่าน ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) ผ่านกรณีศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแนวทางจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหาวิทยาลัยต้นแบบที่มีศักยภาพในการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัลผ่านอัตลักษณ์และความโดดเด่นที่หลากหลายด้านมหาวิทยาลัยดิจิทัล ผ่านการบรรยายพิเศษและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 กรณีศึกษา ได้แก่
กรณีศึกษาที่ 1: แพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพคนไทย (HealthLink และ HealthTAG) โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายสารสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล
กรณีศึกษาที่ 2: งานวิจัยปัญญาประดิษฐ์ทางด้านการแพทย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริศ หนูหอม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล
กรณีศึกษาที่ 3: งานวิจัยปัญญาประดิษฐ์ทางด้านการศึกษา โดย อาจารย์ ดร.เจษฎา อานิล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
กรณีศึกษาที่ 4: แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ MU Gen AI เพื่อให้บริการในมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.ภทรภรต ภภัทธ์สทธรรม ที่ปรึกษาด้านสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล
จากนั้นผู้เข้าร่วมโครงการได้เยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ (Mahidol University Frontier Research Facility : MU ‒ FRF) สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล (MU AI Center) และอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา