สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์”ประจำปี 2568 และพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน 84 ปี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ: คุณูปการและแรงบันดาลใจสู่วงการวิทยาศาสตร์
February 2, 2025
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
February 3, 2025

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์”ประจำปี 2568 และพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 และพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 และโอกาสนี้ ได้มีการแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พลังอุดมศึกษา : บทบาทในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” โดย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ Event Hall 103 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร จัดโดย สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผลงานได้รับรางวัล รวมจำนวนทั้งสิ้น 180 รางวัล แบ่งตามประเภทรางวัล ดังนี้
1. รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 13 ท่าน
2. รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 53 รางวัล
3. รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 52 รางวัล
4. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 62 รางวัล

นอกจากรางวัลดังกล่าวแล้ว สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ จึงจัดให้มีการมอบประกาศนียบัตร “รางวัลผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Award” เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ รวมจำนวน 204 ผลงาน

สำหรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ มอบให้เพื่อเชิดชูนักวิจัย นักประดิษฐ์ ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติ รวมทั้งเป็นรางวัลที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยมี นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
– ศาสตราจารย์ ดร.นริศรา จันทราทิตย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– รองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
– สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ – รองศาสตราจารย์ ดร.คนางค์ คันธมธุรพจน์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการแนวทางการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบริบทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย”
– สาขาการศึกษา – รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ผลงานวิจัยเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์การเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบใช้ภาพเหตุการณ์ เป็นฐานเพื่อพัฒนาสมิทธิภาพทวิภาษาสำหรับผู้เรียนวัยเด็กยุคดิจิทัล”

3.รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
– สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ – ดร. นายสัตวแพทย์ปริญญา สามารถ ศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของกระบวนการโอกลุคแนกซิลเลชันต่อการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งไขกระดูกมัลติเพิลไมอีโลมา”
– สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย – ดร.เชน ตรีรัตนกุลชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “หุ่นยนต์อ่อนนุ่มเพื่อการผ่าตัดเปิดแผลเล็กด้วยการควบคุมระยะไกล”
– สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ไกรสังข์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “การประยุกต์แบบจำลองโครงข่ายความน่าจะเป็นกับการประเมินความเสี่ยง”

4.รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
– สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัทร์ ไชยกุล และคณะ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่มีเบาหวาน โดยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ”
– สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริศ หนูหอม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ผลงานเรื่อง “การยกระดับการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์คดีความผิดทางเพศด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์”

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
– สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานเรื่อง “ไอ-แคร์: ผู้ให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเสมือนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์”
– สาขาการศึกษา – ดร.ติณณภพ แพงผม สังกัดสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานเรื่อง “ชุดเรียนรู้ STEM Coding สำหรับสร้างสรรค์ และเรียนรู้หลักการอากาศพลศาสตร์ ด้วยระบบสมองกลฝังตัวแบบสามารถระบุพิกัดตำแหน่ง”