มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเวทีเสวนาในงานสัมมนาวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 25

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการสัมมนาการเตรียมความพร้อมการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ (กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) รุ่นที่ 1
March 20, 2025
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
March 20, 2025

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเวทีเสวนาในงานสัมมนาวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 25

วันที่ 20 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ปิยะฤทธิ์ อิทธิชัยวงศ์ ศูนย์นวัตกรรมข้อมูลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ Chief Foresight Officer, Future Tales by MQDC และคุณวิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ นักวิจัยด้านการคาดการณ์อนาคตอาวุโส ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา Future Tales Lab ร่วมเสวนา ในหัวข้อ “Transforming Healthcare with AI: A Lean Approach to Efficiency พลิกโฉมระบบสุขภาพด้วย AI แนวคิดแบบลีนสู่ประสิทธิภาพ” และ “Lean Foresight for Thailand’s Healthcare: Maximizing Value, Mini การมองการณ์ไกลแบบลีนสำหรับระบบสุขภาพของประเทศไทย: การเพิ่มคุณค่าสูงสุด การลดความสูญเปล่า” ในงานสัมมนาวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 25 ณ ห้องแซฟไฟร์ 108 อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

โอกาสนี้ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการแพทย์ ที่ซึ่งสามารถพลิกโฉมวงการแพทย์ให้ช่วยลดความไม่จำเป็นในระบบ (Lean) ให้ระบบทางการแพทย์สามารถพัฒนาได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาทิ ลดขั้นตอนให้กับผู้ป่วยรอพบแพทย์ ลดขั้นตอนการค้นข้อมูลทางการแพทย์ ลดขั้นตอนการเขียนวิจัยทางการแพทย์ อีกทั้ง ได้มอบความรู้ถึงขั้นตอนการทำงานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มอบความรู้วิธีการใช้ โปรแกรม ChatGPT และ Gemini อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วย รวมทั้งแนะนำถึงข้อดี-ข้อเสีย และความเสี่ยงของ AI เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานเกิดอาการหลอน (Hallucination) และรู้เท่าทันต่อข้อมูล พร้อมร่วมนำเสนอ เส้นทางในอนาคตของประเทศไทย ในชีวิตอย่างไรให้เกิดสุขภาพสุขสมบูรณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้า ผ่านการวิเคราะห์ตามแนวทาง Future Scenario ซึ่งประกอบไปด้วย The Dusk of Healthcare, Public Health Meridian, MedTech Twilight, Dawn of Wellness และ Zenith of Self-care รวมทั้ง เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยที่ยังคงต้องแก้ไขปัญหา (Mega Trend) อาทิ ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ อัตราการเกิดในประเทศไทยลดน้อยลง การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าถึงระบบทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย สู่การพัฒนาระบบภายในประเทศไทยต่อไป