กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Mahidol In-House PSF Training ประเภท Senior Fellow พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 หัวข้อ “แนวทางการสมัครและโครงสร้างเอกสาร”

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ด้านการศึกษา MU-ADP ปีที่ 5 หัวข้อ How to Teach and Assess Skills : แนวทางการสอนและประเมินทักษะ
May 8, 2025
คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ประจำปี 2568
May 8, 2025

กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Mahidol In-House PSF Training ประเภท Senior Fellow พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 หัวข้อ “แนวทางการสมัครและโครงสร้างเอกสาร”

วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Mahidol In-House PSF Training ประเภท Senior Fellow พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อธิป ธรรมวิจิตร รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และทรัพยากรบุคคล สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาศาสตร์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Mahidol In-House PSF Training ประเภท Senior Fellow พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 หัวข้อ “แนวทางการสมัครและโครงสร้างเอกสาร” จัดโดยกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสามารถสมัครและผ่านการรับรองตามกรอบ The Professional Standards Framework (PSF) 2023 ประเภท Senior Fellow ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางรากฐานของเอกสารได้อย่างชัดเจนและมีทิศทาง มุ่งเน้นการพัฒนาเอกสารประกอบการสมัครผ่านกระบวนการ Coaching และ Mentoring ซึ่งการอบรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการอบรมทั้ง 4 ครั้ง ที่จัดระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2568 ที่จะส่งเสริมศักยภาพทางวิชาชีพของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มีอาจารย์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพการสอนในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืนต่อไป