โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีพูดคุยกระบวนการสานเสวนา “ขับเคลื่อนด้วยปัญญาปฏิบัติของแผ่นดิน จากชุมชนสู่นโยบาย” และละครเวที “เพื่อนรักษ์จะนะยั่งยืน”

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดรายการ “สถานีพยาบาล” EP.12 “อันตรายจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันตนเอง”
March 3, 2025
ผู้บริหาร MUIC กระชับความสัมพันธ์ 2 มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไอร์แลนด์
March 3, 2025

โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีพูดคุยกระบวนการสานเสวนา “ขับเคลื่อนด้วยปัญญาปฏิบัติของแผ่นดิน จากชุมชนสู่นโยบาย” และละครเวที “เพื่อนรักษ์จะนะยั่งยืน”

วันที่ 3 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนกลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับและให้โอวาทแก่เยาวชน ในเวทีพูดคุยกระบวนการสานเสวนา “ขับเคลื่อนด้วยปัญญาปฏิบัติของแผ่นดิน จากชุมชนสู่นโยบาย” และละครเวที “เพื่อนรักษ์จะนะยั่งยืน” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รองอธิการบดีและรักษาการแทนผู้อำนวยการ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดเวทีและกล่าวรายงานความเป็นมา นอกจากนั้นได้รับเกียรติจาก พลโท สิทธิ ตระกูลวงศ์ รองจเร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อดีตอาจารย์ประจำสถาบันฯ เข้าร่วมในเวทีนี้ด้วย ณ ห้องประชุมสระบัว สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จัดโดย โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

หนึ่งในผลผลิตของโครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก คือ ละครเวที “เพื่อนรักษ์จะนะยั่งยืน” นำแสดงโดยเยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยเดินทางมาแสดงในงานประชุมวิชาการระดับชาติ “สุขภาวะทางปัญญา” เมื่อวันที่ 1 – 2 มีนาคม 2568 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ เรื่อง “สุขภาวะทางจิตวิญญาณในพื้นที่ปฏิบัติการ (จะนะ): ศิลป์และจิตวิญญาณแห่งเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ” และมีกำหนดแสดง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในวันที่ 3 มีนาคม 2568

การจัดเวทีพูดคุยกระบวนการสานเสวนา “ขับเคลื่อนด้วยปัญญาปฏิบัติของแผ่นดิน จากชุมชนสู่นโยบาย” เพื่อเป็นการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับประชาคมมหิดลและขยายการขับเคลื่อนชี้นำ และแสดงให้เห็นผลกระทบที่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริง (Real World Impacts) ในการชี้นำนโยบายเพื่อพัฒนาสังคมเชื่อมโยงกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกผ่านกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGS) ด้วยปัญญาปฏิบัติ