คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าวเปิดโครงการการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วย AI บนรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 49 เรื่อง “PM2.5 ฝุ่นจิ๋วตัวร้ายอันตรายสำหรับเด็ก”
January 27, 2025
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับ CIFAL Victoria, University of Victoria ประเทศแคนาดา ภายใต้ United Nations Institute for Training and Research (UNITAR) จัดโครงการ “The Developing a Sustainability Mindset Training Program for Students”
January 27, 2025

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าวเปิดโครงการการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วย AI บนรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

วันที่ 27 มกราคม 2568 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวเปิดโครงการการตรวจคัดกรองวัณโรคด้วย AI บนรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. เรือโทหญิงอรวรรณ แก้วบุญชู รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.ลลิตา แก้ววิไล อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของโครงการวิจัยฯ Dr.Tomihisa Kamada, CEO, LPIXEL Inc., Professor Dr. Hiroshi Yoshioka LPIXEL Inc., ประเทศญี่ปุ่น แพทย์หญิงณัฐินี อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานโรคติดต่อทางสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และนายแพทย์ฐิติสันต์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา เข้าร่วมการแถลงข่าว ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท LPIXEL Inc. ได้ประกาศเปิดตัวโครงการการตรวจคัดกรองวัณโรค (TB) ด้วย AI บนรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ในกรุงเทพมหานคร การดำเนินโครงการนี้มีกำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 โดยความร่วมมือกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (BMA) ตามข้อตกลงการวิจัยที่ลงนามระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและบริษัท LPIXEL ในเดือนกันยายน 2567

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis  การเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) มีบทบาทสำคัญในการตรวจหาวัณโรคปอด ในปี ค.ศ. 2014 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศ “แผนยุทธศาสตร์ในการยุติวัณโรค” และแนะนำให้ใช้ AI ในการคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้โลกปลอดวัณโรค

โครงการนี้มุ่งเป้าไปที่ 19 เขตในกรุงเทพมหานคร โดยใช้รถเอกซเรย์เคลื่อนที่ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ AI การตรวจค้นหาวัณโรคจะดำเนินการโดย AI ทันทีหลังจากการเอกซเรย์ปอด หากสงสัยว่ามีผลบวก ระบบจะแจ้งเตือนรังสีแพทย์ที่ได้รับมอบหมายให้ยืนยันผลการเอกซเรย์ปอดผ่านทางอินเทอร์เน็ตทันที การวินิจฉัยที่รวดเร็วนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่มีผลบวกจากการเอกซเรย์ปอดไปที่คลินิกวัณโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัยเร็วกว่าปกติ กระบวนการที่อำนวยความสะดวกโดย AI นี้คาดว่าจะส่งผลให้การวินิจฉัยและการรักษาเริ่มต้นได้เร็วขึ้น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการตรวจค้นหาและวินิจฉัยวัณโรคในประเทศไทยตั้งแต่ระยะแรก และทำงานเพื่อควบคุมโรควัณโรค ซึ่งยังคงเป็นหนึ่ง ในความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญ โครงการนี้ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization: JETRO)

ขอบคุณข้อมูลภาพข่าว : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล