มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนานวัตกรรมเครื่องตรวจวัดโซเดียมในอาหาร (Salt Meter) และการขยายผลเชิงพาณิชย์” ในงานแถลงข่าว “ชูนวัตกรรม Salt Meter ตัวช่วยขับเคลื่อนมาตรการลดเค็ม”

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 92 พรรษา (12 สิงหาคม 2567)
August 9, 2024
บัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ประจำปี 2567 รูปแบบ MUEdPEx-A1 (การตรวจเต็มรูปแบบ)
August 9, 2024

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนานวัตกรรมเครื่องตรวจวัดโซเดียมในอาหาร (Salt Meter) และการขยายผลเชิงพาณิชย์” ในงานแถลงข่าว “ชูนวัตกรรม Salt Meter ตัวช่วยขับเคลื่อนมาตรการลดเค็ม”

วันที่ 9 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาเครื่องตรวจวัดโซเดียมในอาหาร (Salt Meter) และการขยายผลเชิงพาณิชย์” ในงานแถลงข่าว “ชูนวัตกรรม Salt Meter ตัวช่วยขับเคลื่อนมาตรการลดเค็ม” ณ ห้องสัมมนา 2-3 ชั้น P3 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี สมาคมโรคไตประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) กองควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข และกรมควบคุมโรคกรุงเทพมหานคร

รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การพัฒนาเครื่องตรวจวัดโซเดียมในอาหารได้ผ่านการวิจัยและพัฒนาต้นแบบมากกว่า 5 รุ่น โดยต้นแบบแรกเป็นการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบทฤษฎีและการวัดค่าความเค็ม ตัวอุปกรณ์ใช้หลักการวัดการนำไฟฟ้าของโซเดียมคลอไรด์ รวมถึงมีการปรับปรุงแผงวงจรให้สามารถวัดค่าได้แม่นยำ จากนั้น มีการปรับปรุงคุณภาพของโพรบเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวัด รวมถึงการออกแบบตัวอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานในชีวิตประจำวันและการรองรับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองการใช้งานของอุปกรณ์ทั่วไปที่ต้องการทราบปริมาณโซเดียมในสารอาหารสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้ง่าย

ในปัจจุบันได้พัฒนาเครื่องตรวจวัดโซเดียมในอาหาร (Salt Meter) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นช่วงในการวิจัยและพัฒนาเครื่องตรวจวัดโซเดียมในอาหารระดับ ส่วนที่สอง คือการผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ โดยการวิจัยพัฒนาเครื่องตรวจวัดโซเดียมในอาหาร มีการทำต้นแบบในห้องปฏิบัติการและการทดลองตลาดแบ่งออกทั้งหมด 5 เฟส