พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและงานเปิดโครงการวิจัย “แผนที่นำทางสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนสูงวัยอยู่ดีและมีประโยชน์สุขในอำเภอพยุหะคีรี”

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพโดยใช้หลักการของการสาธารณสุขมูลฐาน
August 20, 2024
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2567 ( (Mahidol Sustainability Week 2024) )
August 21, 2024

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและงานเปิดโครงการวิจัย “แผนที่นำทางสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนสูงวัยอยู่ดีและมีประโยชน์สุขในอำเภอพยุหะคีรี”

วันที่ 20 สิงหาคม 2567 โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและงานเปิดโครงการวิจัย เรื่อง “แผนที่นำทางสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนสูงวัยอยู่ดีและมีประโยชน์สุขในอำเภอพยุหะคีรี” ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอพยุหะคีรี จำนวน 11 แห่ง โดย แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับ และร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับ นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นางณภัทร สื่อสุนทรานนท์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ในฐานะผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วยผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอพยุหะคีรี จำนวน 11 แห่ง ณ ห้องประชุมนิภาธรรมวงศ์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โอกาสนี้ นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้มอบนโยบายให้กับหน่วยงานคู่ความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนางานวิจัย ทั้งการให้ข้อมูลและสนับสนุนบุคลากรให้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพในการจัดทำแผนที่นำทางเพื่อสร้างชุมชนสูงวัยที่อยู่ดีและมีประโยชน์สุข รวมถึงร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการนำผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย และเชิงสาธารณะ จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวแนะนำโครงการวิจัยและเกริ่นนำเข้าสู่กิจกรรมสูงวัย มีประโยชน์สุข

ภายในงาน มีการแสดงกิจกรรมสูงวัยมีประโยชน์สุข การสืบสานประเพณีวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนและแสดงถึงความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงวัยในชุมชน อาทิ เต้นกำรำเคียว จากคณะผู้สูงอายุตำบลเขาทอง และคณะผู้สูงอายุจากตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ กิจกรรมรำวงย้อนยุค ของชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลพยุหะคีรี และการเต้นบาร์สโลฟ จากชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล