มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และสมาคมการค้าวิสาหกิจจีน จัดโครงการ “เรื่องราวประเทศจีน วิสาหกิจจีนเข้าสู่มหาวิทยาลัย”

มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้บริหารจาก University of York สหราชอาณาจักร
November 27, 2024
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อ “การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” พ.ศ.2567 (Thailand Sustainable Development Forum 2024)
November 27, 2024

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และสมาคมการค้าวิสาหกิจจีน จัดโครงการ “เรื่องราวประเทศจีน วิสาหกิจจีนเข้าสู่มหาวิทยาลัย”

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “เรื่องราวประเทศจีน วิสาหกิจจีนเข้าสู่มหาวิทยาลัย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คุณจาง เซียวเซียว ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย คุณจาง หงอี เลขาสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย คุณหลี เสี่ยวปอ นายกสมาคมวิสาหกิจจีน และผู้จัดการทั่วไป ไอซีบีซี (ประเทศไทย) คุณจ้าว หยาง รองนายกและเลขาธิการสมาคมวิสาหกิจจีน และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายของบริษัทสายการบินไชน่า เซาท์เทอร์น คุณจ้าว ซิน รองผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ คุณหยิ่น ป๋อ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารทรัพยากรบุคคลในต่างประเทศ บริษัท บีวายดี ออโต้ (ประเทศไทย) จำกัด คุณหวัง เซียง รองประธานอาวุโส บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด คุณจาง ชิ่งชาง บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น (เซาท์อีสท์ เอเชีย) จำกัด ผู้บริหารส่วนงาน คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการฯ ณ ห้องประชุม Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

โครงการดังกล่าว จัดขึ้นโดย กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และสมาคมการค้าวิสาหกิจจีน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมจีน-ไทย ภายใต้กรอบประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกัน โดยวิสาหกิจจีนได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยไทยในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ความร่วมมือกับภาคการศึกษา การสนับสนุนทุนการศึกษา และการจัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยจีนและไทย ซึ่งนับเป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีชั้นสูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถทางด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในการแข่งขันในเวทีโลก ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในไทยให้มีความสามารถและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล