มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดการอบรม HURS Workshop 2024 “Improving Healthy University Implementation Based on Healthy University Rating System (HURS)”

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอมรมแกนนำนักศึกษามหิดลร่วมใจ ต้านภัยบุรี่และบุหรี่ไฟฟ้า “MU New Gen No Smoking”
July 8, 2024
วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมคณะกรรมการพัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 9 (3/2567)
July 8, 2024

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดการอบรม HURS Workshop 2024 “Improving Healthy University Implementation Based on Healthy University Rating System (HURS)”

วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดการอบรม HURS Workshop 2024 ภายใต้หัวข้อ Improving Healthy University Implementation Based on Healthy University Rating System (HURS) ซึ่งเป็นกิจกรรมตามแผนงานของสำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) เพื่อการพัฒนาผู้ใช้ระบบการประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ ประจำปี 2567 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) พร้อมด้วย ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมฯ ซึ่งมี นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ผู้แทนจากสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-HPN) และผู้แทนสถาบันทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องจามจุรี บอลรูม เอ (ชั้น M) โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และรองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ได้กล่าวแนะนำบทบาทของสำนักงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ในการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสุขภาพและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียน (Introduction of AUN-HPN Secretariat and the role in promoting effective health promotion policies and practices in collaboration among ASEAN universities) จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบ HURS นำเสนอและอธิบายเกณฑ์ประเมิน Healthy University Rating Systems (HURS) Version 2024 ที่มีการปรับปรุงข้อคำถามใหม่ เพื่อให้มหาวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมรับการประเมินในระบบ HURS ในปี 2024 มีความเข้าใจในข้อคำถามภายใต้เกณฑ์ประเมิน HURS และระบบการส่งข้อมูลในระบบได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถทดลองกรอกข้อมูลในระบบ (University Data Entry) และซักถามแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับระบบดังกล่าวด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ Learn and share best practices of the Top Stars Universities of HURS ระหว่างผู้แทนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมประชุม ร่วมกับ ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยที่มีผลคะแนน HURS ระดับดีเยี่ยม (5 Stars และ 5 Stars+) จากผลการประเมินปี 2566 จำนวน 6 มหาวิทยาลัย ได้แก่ Universiti Kebangsaan Malaysia ประเทศมาเลเซีย Universitas Indonesia สาธารณรัฐอินโดนีเซีย Universitas Gadjah Mada สาธารณรัฐอินโดนีเซีย De La Salle University สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล