แถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิด Osaka University Institute for Sports & Global Health และลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ณ ประเทศญี่ปุ่น
October 2, 2024
คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดประชุมหารือแนวทางการพัฒนางานวิจัยด้าน ATMP และสารสกัดสมุนไพร
October 3, 2024

แถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566

วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดี ในงานดังกล่าว

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่มีความวิริยะอุตสาหะ และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพจนมีผลงานดีเด่นในสาขาต่าง ๆ  ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และมีการพิจารณามอบรางวัลมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปีการศึกษา 2566 มีผู้ได้รับรางวัลประเภทดีเด่น เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ดังนี้

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ 

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี ธิติธัญญานนท์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยเรื่อง “Empowering the Fight Against SARS-CoV-2: Exploring Herb Antiviral Activities and Addressing Vaccine Limitations Through Robust Antiviral Assays” 

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงอุษา ฉายเกล็ดแก้ว ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยเรื่อง “ชุดงานวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage, UHC) และพัฒนานโยบายบัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines, NLEM) ในระดับชาติและนานาชาติ” 

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำรา จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ 

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชนิกา ศรีธรา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการแต่งตำรา เรื่อง “หลักการและการประยุกต์ใช้เครื่องรังสีเอกซ์สองพลังงาน (Principles and Clinical Applications of Dual-Energy X-Ray Absorptiometry)”

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการแต่งตำรา เรื่อง “Carotid and Peripheral Vascular Interventions Textbook: Step-by-step Technique” 

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ 

รองศาสตราจารย์ ดร.นาวิน ห่อทองคำ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการบริการ “การบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลศิริราช และการบริการทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลศิริราช”

ดร.ณพล อนุตตรังกูร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการบริการ “การรับใช้สังคมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์” 

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 

ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คูหากาญจน์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ ดร. นายแพทย์พรนพ นัยเนตร ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงจิตติมา ฐิตวัฒน์ ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยผู้ได้รับคัดเลือกจะเข้ารับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2566 จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่