ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล (COSHEM) จัดโครงการอบรมการพิจารณางานวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ถวายสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
September 30, 2024
มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ASEAN-Korea Biohealth Networking Day 2024 ภายใต้หัวข้อ “Moving Toward Asia: A New Era in Global Biohealth” ณ สาธารณรัฐเกาหลี
September 30, 2024

ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล (COSHEM) จัดโครงการอบรมการพิจารณางานวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

วันที่ 30 กันยายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิด “จัดโครงการอบรมการพิจารณางานวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรชลภัทร สุขเกษม ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับ ซึ่งศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล (COSHEM) จัดขึ้นเพื่อให้คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ ระดับส่วนงาน ได้ทราบถึงแนวทาง และขั้นตอนการปฏิบัติในการพิจารณาให้การรับรองโครงการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ สอดคล้องตามนโยบายการบริหารจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม 101 ประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ บรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรชลภัทร สุขเกษม ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลออดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิตล บรรยายในหัวข้อ หลักการพิจารณางานวิจัยและประเมินความเสี่ยง “งานวิจัยที่มีการใช้เชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ หลักการพิจารณางานวิจัยและประเมินความเสี่ยง “งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่” และ อาจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์ดุลยทรรศน์ กรณฑ์แสง ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ หลักการพิจารณางานวิจัยและประเมินความเสี่ยง “งานวิจัยที่มีการใช้สัตว์ทดลอง” จากนั้นเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรึกษาหารือประเด็นปัญหา ในการพิจารณางานวิจัยร่วมกัน