มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดการประชุม The 8th AUN-HPN International Advisory Committee (IAC)

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเตรียมความพร้อมผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล (MU AUN-QA Assessor Calibration)
November 25, 2023
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.หิดล จัดประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยปลอดภัย EP.4 เรื่อง “การใช้แบบประเมินประกอบการพิจารณา ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ” ในหัวข้อ “ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเดินทางอย่างปลอดภัย (ทางบก ทางน้ำ)”
November 26, 2023

มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดการประชุม The 8th AUN-HPN International Advisory Committee (IAC)

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) พร้อมด้วย Prof. Ken Nakata, M.D., Director, Center for Global Health, Osaka University ร่วมเปิดการประชุม The 8th AUN-HPN International Advisory Committee (IAC) ซึ่งจัดโดย สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ร่วมกับ Center for Global Health มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดลในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผล Healthy University Rating System (HURS) ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้แทนจากสํานักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Secretariat) คณะกรรมการอำนวยการมหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN-HPN พร้อมด้วย คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จากกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมการประชุม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

การประชุม The 8th AUN-HPN International Advisory Committee (IAC) จัดขึ้นเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยสมาชิก การรายงานผลการสมัครเข้าร่วมระบบประเมิน Healthy University Rating System (HURS) ของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียน การถอดบทเรียนจากต้นแบบในประเทศไทย: เครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (TUN-HPN) พร้อมทั้งต้อนรับมหาวิทยาลัยสมทบใหม่ของเครือข่าย AUN-HPN ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพพร้อมกับเครือข่ายต่อไป

โอกาสนี้ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในเวทีเสวนา AUN-HPN Joint Symposium ภายใต้หัวข้อ “Pathways to Sustainable Universities: Best Practices from AUN-HPN และ HURS” ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 โดยเวทีเสวนาดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของงานประชุม Global Health Congress 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 24 – 26 พฤศจิกายน 2566 และได้รับการรับรองให้เป็น “หนึ่งในงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 50 ปี ASEAN-Japan” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และรองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) และ Dr. Daisaku Nakatani, Vice Director for Center for Global Health, Osaka University เป็นผู้ดำเนินการเสวนา พร้อมด้วย นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดลในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) กล่าวบรรยายเรื่อง “Role of AUN-HPN in promoting effective health promotion policies and practices in collaboration among ASEAN countriesศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผล Healthy University Rating System (HURS) เป็นวิทยากรหลักบนเวทีอภิปรายแบบคณะเรื่อง “Building a Healthier Future: Exploring best practices on Healthy University Rating System (HURS) in ASEAN Universities” และ Prof. Ken Nakata, Director, Center for Global Health, Osaka University กล่าวบรรยายเรื่อง “Healthy University” พร้อมด้วย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติและนานาชาติ เข้าร่วมอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยเครือข่าย AUN-HPN ที่ได้รับผลการประเมินจากเครื่องมือกำกับ ติดตามผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ Healthy University Rating System (HURS) ระดับ 4-5 ดาว ในรอบการประเมินปี 2022

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาบัยมหิดล