สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านภาษาและการศึกษา ครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “Language, Multilingual Education, Resilient Futures, and Transformative Education”

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
October 2, 2023
สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยาย เรื่อง ยุทธศาสตร์การศึกษา ในด้านต่าง ๆ
October 4, 2023

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านภาษาและการศึกษา ครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “Language, Multilingual Education, Resilient Futures, and Transformative Education”

วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านภาษาและการศึกษา ครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “Language, Multilingual Education, Resilient Futures, and Transformative Educationโดยมี Ms. Soohyun Kim, Director of UNESCO Bangkok, Multisectoral Regional Office และ Ms. Debora Comini, UNICEF Regional Director, East Asia and the Pacific (EAPRO) เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต้อนรับ จัดโดย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) และภาคีเครือข่ายชั้นนำระดับนานาชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 4 – 6 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพฯ

การประชุมวิชาการในครั้งนี้ มีการนำเสนอผลงานวิจัยหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ดังนี้

  1. นโยบาย ความก้าวหน้า และพัฒนาการของพหุวัฒนธรรม
  2. จัดการกับวิกฤตการเรียนรู้ในบริบทหลายภาษา
  3. MLE ระหว่างและหลังการระบาดของ COVID-19
  4. ดิจิทัลของ MLE
  5. การพัฒนาวิชาชีพครูในบริบทหลายภาษา
  6. การศึกษาและทศวรรษสากลของภาษาพื้นเมือง (พ.ศ. 2565-2575)
  7. กระบวนการและแบบจำลองการพัฒนาภาษาเพิ่มเติม
  8. สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพหุภาษา
  9. การประเมินผลสำหรับผู้เรียน MLE
  10. ผลกระทบและผลลัพธ์ของโปรแกรม MLE

ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Michel Kenmogne, Executive Director, SIL International ร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ ภายในงานมีการแสดง Cultural Performance ภายใต้แนวคิด “Soft Power ความเป็นไทย สู่ความเป็นสากล” เป็นการนำเสนอวิถีปฏิบัติวัฒนธรรมพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ ร้อยเรียงผ่านการแสดงที่มีความร่วมสมัย 3 ชุดการแสดง ได้แก่ 1. The Proud Ethnic Identity 2. Ethnic Way of Life และ 3. Diversity in Unity Finale