วันที่ 19 มกราคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการประชุม The 7th International Advisory Committee (IAC) และ The 3rd AUN International Health Promotion Conference โดยมี ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกล่าวต้อนรับ ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ รองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ สงค์ประชา รองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบ Healthy University Rating Systems (HURS) และคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดล (AUN-HPN Steering Committee) เข้าร่วมการประชุมฯ พร้อมด้วย 26 มหาวิทยาลัย จากกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี และผ่านระบบประชุม Zoom Meeting
ประเด็นสำคัญของการประชุม The 7th International Advisory Committee (IAC) ได้แก่ การหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยสมาชิก การลงนาม Conference Statement in HURS ในเวทีประชุมวิชาการนานาชาติ (The 3rd AUN International Health Promotion Conference) การสร้างความร่วมมือและผลักดันการนำเครื่องมือ Healthy University Rating System (HURS) มาใช้ประเมินการเป็นมหาวิทยาลัยสุขภาวะ (Healthy University) และต้อนรับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าเป็นสมาชิกสมทบใหม่ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) รวมทั้งกำหนดวันของประชุม 8th International Advisory Committee (IAC) ซึ่งจะจัดขึ้นในครั้งต่อไป
วัตถุประสงค์ของการจัดเวทีวิชาการ The 3rd AUN International Health Promotion Conference ในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยสมาชิก โดยมุ่งประเด็นด้านสุขภาพจิต (Mental Health) ในช่วงที่เกิดวิกฤติของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 การส่งเสริมการนำเครื่องมือ Healthy University Rating System (HURS) มาใช้ประเมินการเป็นมหาวิทยาลัยสุขภาวะ (Healthy University) ไปยังสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนให้ขยายกว้างขวางยิ่งขึ้น รวมถึงการลงนามแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันใน Conference Statement in HURS
การจัดเวทีแลกเปลี่ยนวิชาการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติและนานาขาติ อาทิ นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดล ในเครือข่าย ASEAN University Network – Health Promotion Network (AUN-HPN) บรรยายหัวข้อ “Role of AUN–HPN in promoting effective health promotion policies and practices in collaboration among ASEAN countries“ Dr. Suvajee Good, Regional Advisor, Social Determinants of Health and Health Promotion, WHO Regional Office for South-East Asia บรรยายหัวข้อ “Health Promotion Competencies in the new era” และ Professor Mark Dooris, Professor in Health & Sustainability, University of Central Lancashire, United Kingdom & Chair, UK Healthy Universities Network บรรยายหัวข้อ “Health Promoting Universities: UK & International Insights, Challenges & Opportunities” โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังทั้งชาวไทยและต่างชาติ ในรูปแบบทั้ง onsite และ online รวมทั้งเผยแพร่ผ่านระบบ IPTV ของมหาวิทยาลัยมหิดล
โดยในวันที่ 20 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบหมาย รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ รองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) เป็นประธานการประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd AUN International Health Promotion Conference และลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ให้เกียรติลงนาม พร้อมด้วยการลงนามความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนงานด้านส่งเสริมสุขภาพให้ มีความเข้มแข็ง มุ่งสู่การเป็นผู้นำมหาวิทยาลัยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในระดับนานาชาติ โดยมี ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี และผ่านระบบประชุม Zoom Meeting