สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2565 ในหัวข้อ “สร้างสรรค์การเรียนรู้และสุขภาพบนฐานธรรมชาติ Nature–Based Education & Health Promotion”

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าวในประเด็น “120 วัน บังคับใช้กฎหมาย ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ใครต้องทำอะไร ?”
May 10, 2022
ศูนย์เตรียมความพร้อมภาษาและคณิตศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ ได้รับรางวัลการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ประจำปี 2565 จาก NEAS (2022 NEAS Award for Online Delivery)
May 10, 2022

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2565 ในหัวข้อ “สร้างสรรค์การเรียนรู้และสุขภาพบนฐานธรรมชาติ Nature–Based Education & Health Promotion”

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2565 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ “สร้างสรรค์การเรียนรู้และสุขภาพบนฐานธรรมชาติ Nature–Based Education & Health Promotion” พร้อมบรรยายพิเศษ เรื่อง “มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2565 มีการบรรยายพิเศษและปาฐกถาเกียรติยศ “นิตยา คชภักดี” ครั้งที่ 4 เรื่อง “Nature-Based Education & Health Promotion” โดย อาจารย์ นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ (หมอหม่อง) นอกจากนี้ มีการบรรยายนำเสนอข้อมูลด้าน Nature-Based Education การสอนให้เด็กรู้จักธรรมชาติและส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานธรรมชาติ ด้าน Health Promotion การส่งเสริมการดำเนินชีวิตและสุขภาพบนฐานธรรมชาติ และ ด้าน Learning City การส่งเสริมการเรียนรู้ในเมือง outdoor learning และเน้น play based บนฐานธรรมชาติ ในรูปแบบ Hybrid Conference

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (Eco-University) ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในมหาวิทยาลัย ตามหลัก 3R (Reduce / Reuse / Recycle) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม โดยการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็น ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และบรรลุเป้าหมาย SDGs Goals องค์การสหประชาชาติได้

อาจารย์ นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ กล่าวว่า เด็กในยุคปัจจุบันที่ต้องเผชิญภาวะของ “โรคขาดธรรมชาติ” ซึ่งในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เด็กต้องอยู่กับสื่อดิจิทัลมากขึ้น ทำให้เด็กสัมผัสพึ่งพิงธรรมชาติน้อยลง ดังนั้นเราจึงควรสร้างองค์ความรู้เรื่องธรรมชาติให้แก่เด็ก ให้เด็กได้อยู่กับธรรมชาติมากขึ้น ได้สัมผัสธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะ และประสบการณ์ในตัวเด็กให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่