คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาด้านการแพทย์ กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล แถลงวิสัยทัศน์การปรับหลักสูตรใหม่ มุ่งสร้าง “พยาบาลแห่งอนาคต”
February 4, 2021
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทาน ส.ค.ส. 2564 แด่ คณะเภสัชศาสตร์
February 5, 2021

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาด้านการแพทย์ กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

AA4A4425-3EE0-4992-9195-3C0A794B42CD

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. อิทธิพล แจ้งชัด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ทางวิชาการ ด้านการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรม ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการแพทย์ ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานคณบดี ชั้น 5 อาคารบริหาร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง พันธกิจในการให้บริการรักษาพยาบาล พันธกิจในฐานะโรงเรียนแพทย์ และพันธกิจในด้านการทำวิจัยทางการแพทย์ ซึ่งในกระบวนการทำงานในทุกพันธกิจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาให้เกิดระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเวชศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เภสัชกรรม การพยาบาล การสาธารณสุข วิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เป็นองค์ความรู้ที่ต้องพัฒนาอยู่อย่างเสมอ โดยอาศัยความร่วมมือในหลากหลายด้านจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่นเดียวกันกับความร่วมมือในครั้งนี้ ที่เชื่อมั่นว่าจะสามารถต่อยอดผลสำเร็จให้เกิดแก่ผู้ป่วยและวงการแพทย์ได้เป็นอย่างมาก

จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร. อิทธิพล แจ้งชัด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวถึงการร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิชาการ และการวิจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเราสามารถนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาช่วยในการพัฒนา คิดค้น หรือประดิษฐ์ซึ่งเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์หรือระบบซอฟต์แวร์สนับสนุนทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ อุปกรณ์หรือระบบซอฟต์แวร์สนับสนุนด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงอุปกรณ์และระบบซอฟต์แวร์อื่น ๆ ให้เกิดความสะดวกขึ้นได้