สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล เปิดหลักสูตรพหุภาษา-พหุวัฒนธรรม อาเซียน +3 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เตรียมความพร้อมผู้ตรวจประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ EdPEx” ประจำปี 2564
May 12, 2021
มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม AUN Ecological Education and Culture (AUN-EEC)
May 12, 2021

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล เปิดหลักสูตรพหุภาษา-พหุวัฒนธรรม อาเซียน +3 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

270E2FC0-FAB1-42B8-806C-0D94EDA751D1

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีเปิดหลักสูตรพหุภาษาพหุวัฒนธรรม อาเซียน +3 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (MU-RILCA ASEAN+3 : Multilingual & Multicultural Programme for Sustainable Development)  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี ผ่านระบบออนไลน์

หลักสูตรนี้ เปิดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ด้านพหุภาษาและพหุวัฒนธรรม รวมถึงส่งเสริมการสร้างความเข้าใจอันดีด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศให้อยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย (Unity in Diversity) ทั้งนี้ ยังเป็นการเสริมพลังให้กลุ่มเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเป็นผู้นำยุคใหม่และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคที่แข็งแกร่ง โดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทย โดยการออกแบบเนื้อหารายวิชาของหลักสูตรฯ มุ่งหมายให้นักศึกษาในภูมิภาคอาเซียน +3 (จีน เกาหลีใต้ญี่ปุ่น) ได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมไทย และประเด็นสำคัญต่าง ด้านสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม พร้อมทั้ง กิจกรรมส่งเสริมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระหว่างวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีความสุขท่ามกลางความหลากหลาย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างไทย และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน +3 เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในการส่งเสริมสังคมสงบสุข (Peace, Justice and Strong Institutions) โดยได้รับความความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ บุคลการวิจัย และหน่วยงานภายนอก เป็นวิทยากรให้ความรู้ และมีผู้เข้าร่วมศึกษาหลักสูตรได้แก่ นักศึกษาชาวต่างประเทศ จำนวน 25 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม – 9 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์