มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้บริหารจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าเยี่ยมชมโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และหารือความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่สาธิตต้นแบบนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ SDGs

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน “แถลงผลงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 2564”
September 9, 2021
การประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน เกษตรศาสตร์-มหิดล-กองทัพเรือ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 22 เรื่อง “จุดเปลี่ยนอุดมศึกษา จากสถานการณ์ COVID-19”
September 10, 2021

มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้บริหารจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าเยี่ยมชมโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และหารือความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่สาธิตต้นแบบนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ SDGs

วันที่ 9 กันยายน 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา รักษาการแทนผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร จากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณอัจฉริยา เจริญศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และผู้จัดการฝ่ายกิจการเพื่อสังคม คุณอรมาศ พินิจชอบ ผู้จัดการฝ่ายบริษัทสานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และผู้จัดการสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมพื้นที่โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งหารือความร่วมมือในการพัฒนาต่อยอดพื้นที่ของอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ ให้เป็นพื้นที่สาธิตต้นแบบนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ Sustainable Development Goals อย่างแท้จริง (Societal Innovation Demonstration Area for SDGs Authentic Learning) ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณนที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหารจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เยี่ยมชมต้นสมุนไพรไทย และทัศนียภาพภายในอุทยานบนเนื้อที่กว่า 140 ไร่ ของอุทยานธรรมชาติวิทยาฯแล้ว พร้อมหารือเพิ่มเติมในส่วนของวิสัยทัศน์ด้านพลังงานของไทยและนวัตกรรมในการแปรรูปพลังงาน เพื่อกำหนดแนวทางการต่อยอดอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ ให้เป็นพื้นที่สาธิตต้นแบบนวัตกรรมทางสังคม เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและบริหารจัดการน้ำ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ การจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ในการสร้างและทดลองนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับชุมชนและสังคมต่อไปในอนาคต