ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าว “ประสิทธิภาพของกระชายขาว ต้าน COVID-19”

มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/ Upskill)
June 1, 2020

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าว “ประสิทธิภาพของกระชายขาว ต้าน COVID-19”

TCELS07

วันที่ 1 มิถุนายน 2563 รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าว “ประสิทธิภาพของกระชายขาวต้าน COVID-19” โดยมี ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร  ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมงานแถลงข่าว ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากร และระบบเศรษฐกิจทั่วโลก แม้ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศทั่วโลกเริ่มคลายสถานการณ์ล็อคดาวน์ ทั้งนี้ ทั่วโลกยังคงเร่งพัฒนายาต้านไวรัสและวัคซีนสำหรับการป้องกัน รวมถึงมหาวิทยาลัยมหิดลได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การระบาดมาตั้งแต่ต้นและระดมทีมนักวิจัยร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะวิทยาศาสตร์ จัดเป็น COVID-19 Research Cluster  โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มงานวิจัยหลัก ซึ่ง 1 ใน 5 กลุ่มงานวิจัย คือ Drug Discovery หรือการค้นหาพัฒนายาใหม่ ร่วมกับกลุ่มงานวิจัยด้าน Serology and Plasma Therapy ซึ่งเป็นการดึงสรรพกำลังด้านโครงสร้างพื้นฐานหลักที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันทำงาน โดยมี คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกันสร้าง platform การตรวจวิเคราะห์หาสารออกฤทธิ์จากสารสกัดธรรมชาติ รวมถึงสมุนไพรไทยที่ใช้เป็นอาหารในชีวิตประจำวัน ที่มีฤทธิ์ต่อ SARS-CoV-2 ได้แก่ ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ที่มีระบบปฏิบัติการตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) มีความเชี่ยวชาญในการคัดแยกและเพาะเลี้ยงไวรัส SARS-CoV-2  นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา หรือ ECDD (Excellence Center for Drug Discovery) ซึ่งเป็นแหล่งคลังจัดเก็บสารสกัดสมุนไพร และดำเนินการด้วยเทคโนโลยี High-Throughput Screening (HTS) ซึ่งมีศักยภาพในการคัดกรองสารออกฤทธิ์พร้อมกันจำนวนมาก ภายในระยะเวลารวดเร็ว นำทีมโดย ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา โดยการสร้าง Platform ในการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิรามาธิบดี และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การ-มหาชน) ที่มีเป้าหมายร่วมกันในระยะยาวในการสร้างโอกาส ต่อยอดความเข้มแข็งของประเทศที่มีอยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤตการระบาด COVID-19 เพื่อค้นหาสารออกฤทธิ์ทางยาและนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนายาในขั้นต่อไป จากการผนึกกำลังร่วมกันครั้งนี้ พบว่าจากการตรวจคัดกรองสารสกัดในคลังจำนวนกว่า 120 ตัวอย่าง พบว่ามีสารสกัด จำนวน 6 ชนิดที่มีศักยภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ SARS-CoV-2 ที่ให้ผลในการยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสได้ 100% ที่ปริมาณความเข้มข้นของยาในระดับน้อยๆ และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ซึ่งผลดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบเทียบเคียงกับผลการยับยั้งของ FDA approved drugs ได้แก่ ยา Niclosamide และยา Hydroxychloroquine แล้ว   นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้ทำการคัดเลือกสารมา 2 ชนิดจากจำนวน 6 ชนิด คือ ขิง และกระชายขาว มาทำการตรวจวิเคราะห์ในเชิงลึกถึงกลไกระดับเซลล์ และมหาวิทยาลัยร่วมกับ TCELS มีความพร้อมที่จะขยายผลการศึกษาประสิทธิภาพของ “กระชายขาว” ซึ่งให้ผลการยับยั้งดีที่สุดมาพัฒนาต่อให้สามารถเข้าสู่ clinical trial โดยในส่วนของ early phase clinical trial จะทำในโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นหลัก และขยายความร่วมมือออกไปในส่วนของ phase II และ III ในลักษณะของ multicenter study ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตยาที่เป็น Modernized Thai Traditional Medicine ได้

จากนั้น เป็นการเสวนา เรื่อง “ความก้าวหน้างานวิจัยค้นพบยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย” โดยมีผู้ร่วมการเสวนา ได้แก่ ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร  ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.สุรเดช หงส์อิง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นพิธีกรดำเนินรายการเสวนาz

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

Recent post